คุ้มรึเปล่า.. ถ้าอยากมีปริญญาตรีเพิ่มอีกใบ?

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • ปริญญาตรีใบที่สอง คือ หนทางที่จะช่วยส่งเสริมให้หลายคนได้เรียนรู้หาความรู้ที่ตัวเองสนใจเพิ่มเติม รวมไปถึงการอัพเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง และที่สำคัญจะช่วยสร้าง ‘Career Path’ ให้ถูกเส้นทางกับคนที่เคยเรียนจบไม่ตรงสายกับอาชีพที่ตัวเองกำลังทำอยู่

จากวิจัยในปี พ.ศ. 2561 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้พบว่า ในประเทศไทย ร้อยละ 60 คนทำงานนั้นทำงานไม่ตรงกับสายที่เรียนจบมาโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นมีทางไหนบ้างที่จะทำให้คนจำนวนเหล่านี้ได้ทำอาชีพที่คาดหวังไว้

ไม่ว่าเรากำลังพิจารณามองหาอาชีพที่เสริม ตำแหน่ง หน้าที่การงานใหม่ หรือแม้แต่การเลื่อนตำแหน่งกับที่ทำงานปัจจุบันของเราเองก็ตาม การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจะสามารถเสริมสร้างความมุ่งมั่นของเราในการเติบโตทางอาชีพที่เราฝันถึงได้อย่างแน่นอน

ความแตกต่างระหว่างปริญญาตรีใบที่ 2 กับปริญญาโท
การเรียนต่อปริญญาโทนป็นการศึกษาต่อเนื่องในระดับพิเศษที่สูงกว่าปริญญาตรีหนึ่งขั้น แต่การเลือกปริญญาตรีสาขาที่สองนับว่าเป็นการช่วยให้เราได้ปูพื้นฐานความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองไปสู่อาชีพที่เราสนใจได้จริงๆ

แม้ว่าระยะเวลาในการเรียนหลักสูตรการเรียนปริญญาโทส่วนใหญ่จะมีระหว่าง 1-2 ปี แต่ ก็เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างหนักพอสมควร เพราะเนื้อหานั้นค่อนข้างที่จะเข้มข้นกว่า ใครที่ไม่มีพื้นฐานในสาขานั้นมาก่อนอาจจะต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มเติมมากกว่าคนอื่น และส่วนใหญ่ต้องให้เวลากับการทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์มากกว่าการเรียนระดับปริญญาตรี

หากใครกำลังฝันอยากจะทำงานในสายที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ และแถมยังถือวุฒิปริญญาตรีอยู่ด้วย การันตีได้เลยว่าการเรียนปริญญาตรีใหม่อีกใบเพิ่ม ก็สามารถทำได้ ไม่แพ้ไปกว่าการเรียนปริญญาโทอีกด้วย และยังช่วยอัปสกิลให้เราปูทางไปกับอาชีพที่ฝันไว้อีกด้วย

ข้อดีว่าทำไมเราควรเลือกเรียนระดับปริญญาตรีอีกครั้ง?

การตัดสินใจที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีใบที่สองนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายของเราในอนาคตและสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นเรามาดูเหตุผลของการเรียนต่อเพื่อได้ใบปริญญาตรีที่สองกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง?

  • ช่วยให้ทำตามเป้าหมายในอาชีพได้ง่ายขึ้น: ไม่ว่าเป้าหมายในอาชีพของเราจะเป็นเช่นไร การได้รับปริญญาตรีใบที่สองจะช่วยให้เรามีโอกาสเริ่มต้นอาชีพใหม่หรือแม้แต่ก้าวหน้าในอาชีพปัจจุบันของเราไปอีกขั้น ตัวอย่างเช่น แม้เราอาจจะมีประสบการณ์ทางด้านการตลาด แต่หากปริญญาตรีใบแรกจบมาจากสาขากฏหมาย ก็ใช่ว่าเราบริษัทจะรับเราไปพิจารณาเป็นคนแรกๆ หากเรากำลังเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่ต้องการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นภายในปีหน้า ปริญญาตรีใบที่สองนั้นจะช่วยทำให้เรามีสิทธิ์ได้รับการเลื่อนตำแหน่งได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้ได้งานง่ายขึ้น หลังจากกลับมาลงสนามหางานใหม่: ไม่ว่าจะเป็นผลจากการว่างงานมาเป็นเวลานาน หรือเป็นกลยุทธ์ในการอัปสกิลของเราเอง ปริญญาใบที่สองสามารถทำให้เรามีข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับ Job Hunter คนอื่นได้ ตัวอย่างเช่น หากเราเคยเรียนจบปริญญาตรีสาขาการสื่อสารเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และอยากหางานสาย Data Analyst ทำในอนาคต ดังนั้นปริญญาตรีสาขาที่สองในสาขา Computer Science ก็จะสามารถรักษาความรู้และความสามารถของเราให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • แก้ไขสถานการณ์ทางการเงิน: บางครั้งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการหาอาชีพใหม่ จากบทวิจัยเดิมได้พบว่า คนที่ทำงานไม่ตรงสายส่วนใหญ่นั้นได้รับผลกระทบจากค่าจ้างอันน้อยนิด อย่าลืมว่านายจ้างบางรายอาจให้ความสำคัญกับการศึกษาของเรามากกว่าประสบการณ์ ดังนั้นการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ตรงกับสายงานอีกครั้งจะสามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้น หรือได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้มีกำไรมากขึ้น

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การเรียนต่อปริญญาโทอาจเป็นตัวเลือกแรกสำหรับหลายคนที่ต้องการกลับไปเรียนต่อ ในทางตรงกันข้ามการเลือกเรียนต่อปริญญาตรีใบที่สองก็ถือเป็นโอกาสที่ดีโดยเฉพาะกับคนที่ต้องการเพิ่มพูนชุดทักษะ หรือเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเองที่ต้องการอีกเช่นกัน

อ้างอิง:

Aksornneam, P. (2018, May 4). สํารวจพบคนอายุน้อยทํางานไม่ตรงสายกว่า 60%. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/economy/news_941499 

Birt, J. (2023). 6 Reasons To Consider Getting a Second Bachelor’s Degree. Indeed. https://www.indeed.com/career-advice/career-development/getting-second-bachelors-degree 
Meredith College. (2022, March 23). 3 reasons you should consider a second bachelor’s Degree – Meredith College. https://www.meredith.edu/admissions-blog/3-reasons-you-should-consider-a-second-bachelors-degree/

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง ถ้าคุณคิดว่าเจ้าหมาหรือแมวที่บ้านของคุณเป็นแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา คุณอาจไม่ได้เกิดในยุคของ Gen Z เพราะสำหรับคนรุ่นนี้ หมากับแมวไม่ใช่แค่เพื่อนซี้ แต่คือโปรเจกต์สร้างความสุข ไลฟ์สไตล์ และความยั่งยืนที่ต้องเป๊ะทั้งในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ ตามรายงานจาก The Sun

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ

เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Highlights: ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง? ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง