ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์: ประเทศไทยเริ่มแล้วหรือยัง?

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • รูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์นี้ก็เคยมีการทดลองมาแล้วในสหรัฐ และพบว่า พนักงานที่ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ มีอาการหมดไฟน้อยกว่า มีความสุขมากกว่าคนที่ทำงาน 5 วันหรือ 6 วันต่อสัปดาห์

“หากคุณดูผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการทำงาน เรามักจะให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานมากเกินไป อันที่จริงการทำงานจากระยะไกลและแบบผสมผสานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถขจัดความเหนื่อยหน่ายและการทำงานหนักเกินไปได้”  – โจ โอคอนเนอร์ (Joe O’Connor)  กรรมการบริหารของ 4 Day Week Global

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ประเทศอังกฤษได้เริ่มทำการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ พนักงานจะได้เงินเดือน 100% เวลาทำงานลดลงเป็น 80% โดยมีผลิตภาพ (productivity) ในการทำงานเท่าเดิม 100% โดยการทดลองนี้ได้ร่วมมือกับองกรคื 4 Day Week Global และคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาทั้งหมดจนถึงสิ้นปี 2565 

จากการสำรวจพบว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ทำให้พนักงานมีเวลาออกกำลังกาย ทำอาหาร เข้าสังคม และทำงานอดิเรกมากขึ้น ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น กระฉับกระเฉง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมการทดลองยังได้ให้ความเห็นอีกว่า การลดวันทำงานเหลือเพียง 4 วันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลงาน อีกทั้งผลผลิตของงานนั้นยังดีขึ้นด้วยซ้ำ 

ว่าแต่.. ทำไมเทรนด์การทำงานน้อยลงถึงได้รับความนิยมขนาดนี้?

สภาวะ Burnout ของมนุษย์เงินเดือนนั่นเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด ส่งผลให้องกรค์หันมาสนใจความเป็นอยู่ของพนักงานตัวเองมากขึ้น เพราะหากพนักงานมีภาวะที่เหนื่อยหน่าย หรือมีอาการเครียดจากการทำงานจะสามารถส่งผลต่อคุณภาพงานได้อย่างไม่ต้องสงสัย

อันที่จริงที่ผ่านมามีการพูดถึงการทำงานสี่วันต่อสัปดาห์อยู่เสมอ แต่เนื่องด้วยโรคระบาดโควิด-19 ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับการทำงานทางไกลและการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งนั่นก่อให้เกิดโอกาสในการหาแง่มุม วิธีการใหม่ๆ ในการทำงาน จึงไม่แปลกที่รูปแบบการทดลองการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จึงเกิดขึ้น

ประเทศไทยกับรูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ยังอีกไกล..

คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้กล่าวไว้ว่า การทำงานสัปดาห์ละ 4 วันนั้น ฟังดูเป็นแนวคิดที่ดี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ทั้งลักษณะงาน จำนวนงาน และรูปแบบขององค์กร

ประเทศไทยยังมีปัจจัยและความกังวลอีกหลายอย่างที่ทำให้เรายังไม่พร้อมสำหรับการทำงานแบบ 4 วันต่อสัปดาห์อย่างเต็มรูปแบบ


การทำให้สัปดาห์แห่งการทำงานนั้นสั้นลง ไม่ใช่ทุกองกรค์จะสามารถทำได้โดยไม่ลดจำนวนชั่วโมงการทำงานอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมแรงงาน อาจจะทำให้ระดับความเหนื่อยล้าในวันทำงานเพิ่มขึ้น เพราะชั่วโมงงานใน 4 วันที่เหลืออาจจะเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้

นอกจากเหตุผลที่เวลางานที่อาจเท่าเดิม บริษัทที่อนุมัติให้เวลาทำงานสั้นลงในหลายที่อาจจะมีมาตราการลดเงินเดือนของพนักงานลงตามสัดส่วนของชั่วโมงงานที่หายไป นั่นอาจเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องดีนักเพราะค่าใช้จ่ายของคนทำงานทั่วไปก็ยังคงมีเท่าเดิม..

4 วันต่อสัปดาห์อาจยังไม่มา แต่รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work เริ่มมีเพิ่มบ้างแล้ว


เมื่อโรคระบาดทำให้เกิดความไม่แน่นอนอย่างมากสำหรับบริษัทต่างๆ ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2564 คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ซีอีโอ ของ AIS กล่าวว่า บริษัทได้มีการเริ่มแบ่งพนักงานออกเป็นสองส่วนที่ผลัดกันมาที่ออฟฟิศ และทำงานที่บ้าน ซึ่งพนักงานสามารถทำงานที่ออฟฟิศได้ 3 วันต่อสัปดาห์ และสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ 2 วัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละฝ่ายนั้นจะตกลงกันอย่างไร

นอกจากนี้ คุณสมชายยังกล่าวอีกว่า ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่า ประสิทธิภาพของ Hybrid Work นั้นจะได้ผล แต่ก็สามารถคาดได้ว่า นี่อาจจะเป็นแนวทางใหม่ในการทำงานสำหรับองค์กรอื่นๆ ก็เป็นได้

แม้ว่ารูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์อาจจะยังไม่พร้อมสำหรับบ้านเราเท่าไหร่ เพราะแทบจะยังไม่มีบริษัทไหนออกมาใช้นโยบายนี้กันเลย.. ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อดีและข้อเสียของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์แสดงให้เห็นว่า หากองกรค์มีโครงสร้างและการสนับสนุนที่เหมาะสม การทำงานรูปแบบนี้จะคุ้มค่าอย่างมาก เพราะจะช่วยให้พนักงานมีสุขภาพดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำงานและองกรค์อีกด้วย

แต่ใครจะรู้.. ขนาดในอดีตวันหยุดสุดสัปดาห์ยังถูกคิดค้นขึ้นมาได้เลย ไม่แน่นะ อีกไม่นานการทำงาน 4 วันอาจจะเป็นจริงขึ้นมาสักวันก็ได้.. จริงไหม?

อ้างอิง:

MacLellan, L. (2022, November 8). The list of companies that joined the world’s biggest four-day week experiment. Quartz. https://qz.com/work/2173919/which-companies-are-testing-the-four-day-week-in-the-uk/amp 

Lockheart, C. (2022, September 20). UK Companies in 4 Day week Pilot Reach Landmark Halfway Point. 4 Day Week Global. https://www.4dayweek.com/news-posts/uk-four-day-week-pilot-mid-results 
Phakdeetham J., Tortermvasana, K., Apisitniran, L. (2022, June 4). For work hours, one size does not fit all. Bangkok Post. https://www.bangkokpost.com/business/2320610/for-work-hours-one-size-does-not-fit-all

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง ถ้าคุณคิดว่าเจ้าหมาหรือแมวที่บ้านของคุณเป็นแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา คุณอาจไม่ได้เกิดในยุคของ Gen Z เพราะสำหรับคนรุ่นนี้ หมากับแมวไม่ใช่แค่เพื่อนซี้ แต่คือโปรเจกต์สร้างความสุข ไลฟ์สไตล์ และความยั่งยืนที่ต้องเป๊ะทั้งในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ ตามรายงานจาก The Sun

Breaking orthodoxies จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..? – มาหัดตั้งคำถามให้องค์กรเติบโตกันเถอะ

Highlights: ด้วยโลกในปัจจุบัน บางบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าปรับตามให้ทันยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากพวกเขาให้ความสำคัญกับการรักษาตำแหน่งทางการตลาดในปัจจุบัน และขอแค่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มีอยู่มากกว่าที่จะคว้านหาการสร้างโอกาสใหม่ และด้วยสาเหตุนี้เอง ที่มักจะทำให้พวกเขาต้องถึงทางตันในการทำธุรกิจ ดังนั้น ทางออกแบบไหนกันที่จะทำให้องค์กรที่ไม่กล้าเสี่ยงแบบนี้เติบโตได้? รู้จัก Breaking Orthodoxies (การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ) การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ การท้าทายและตั้งคำถามถึงวิธีการทำสิ่งต่างๆ แบบเดิมๆ ออร์ทอดอกซ์เป็นข้อสันนิษฐาน หรือความเชื่อที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นจริงในอุตสาหกรรม ตลาด

รู้จัก ‘Penguin Effect’ จากคนธรรมดาพัฒนาเป็นเพนกวินผู้กล้า!

Highlight: ที่มาที่ไปของ Penguin Effectเพนกวินเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพฤติกรรมน่าสนใจ และทำให้เราขมวดคิ้วอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ‘Penguin Effect’ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ! นกเพนกวินแม้ในขณะที่หิวโหยยังสามารถยืนท้าลมหนาวเป็นเวลานานบนชายฝั่ง หรือแผ่นน้ำแข็งร่วมกับฝูง พร้อมทั้งคอยพยายามผลักและดันตัวที่อยู่ข้างหน้าลงไปในน้ำ ซึ่งสาเหตุมาจากที่พวกมันไม่กล้ารีบเข้าไปเอง เพราะกลัวนักล่าอย่าง แมวน้ำ, สิงโตทะเล ,วาฬเพชฌฆาต หรือ แม้แต่ฉลาม