ทำหลายอย่างจนรู้สึกหมดไฟ? หลีกเลี่ยงได้ด้วยการบาลานซ์ชีวิตสักหน่อย

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ไม่กล้าพอที่จะลาออกจากงานประจำเพื่อไล่ตามความฝันในอาชีพ พวกเขาถูกบีบให้ทำงานเต็มเวลาควบคู่ไปกับการทำงานเสริม เพื่อเงิน หรือ เพื่อทำในสิ่งที่พวกเขาทำได้ดี
  • ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่การทำงานฟูลไทม์ควบคู่ไปกับอาชีพเสริมอื่นมักนำไปสู่ความวิตกกังวล ความเครียด และความเหนื่อยหน่ายในท้ายที่สุด ดังนั้นบทความนี้ต้องการแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงการ Burnout จากทั้งสองสิ่งนี้

เมื่อก่อนพนักงานต้องเข้าออฟฟิศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ แต่หลายปีมานี้ที่หลายองค์กรได้มีการปรับโหมดการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้พนักงานหลายคนมีโอกาสที่จะได้ลองทำอะไรใหม่ๆ เพิ่มเติ่ม อย่างเช่นการหารายได้เพิ่มจากการทำ Side Hustle หรืองานเสริมนั่นเอง

สิ่งที่จุดประกายให้คนหางานเสริมเพิ่ม ก็น่าจะมาจากการที่คิดหาทางหนีจากอาการเบิร์นเอาท์ เลยต้องเริ่มหาอะไรทำจากงานอดิเรกที่ชอบ หรืออาชีพที่สนใจแต่ไม่มีโอกาสได้ลงมือทำสักที แม้ว่าเงินที่ได้อาจจะไม่ได้มากเท่ากับอาชีพหลักที่ทำอยู่ แต่สำหรับหลายคนแค่ได้ทำอะไรที่รัก หรือทำได้ดี เราก็สนุกไปกับมัน ถูกมั้ย? เพราะฉะนั้นช่วงที่เริ่มทำแรกๆ เรื่องเงินก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร

อย่างที่ทุกคนคิดกันนั่นแหละว่า การทำงานสองงานมีประโยชน์มากมาย นอกเหนือจากการเพิ่มรายได้แล้ว เรายังจะได้รับทักษะใหม่ๆที่เพิ่มพูนมาจากงานที่สองนี้ รวมไปถึงการได้เพิ่มคอนเนคชั่นกับลูกค้า อย่างไรก็ตาม มันก็มาพร้อมกับความท้าทายเช่นกัน โดยเฉพาะการแบ่งเวลาไปพักผ่อน หรือแบ่งให้กับคนรอบข้างก็แทบจะหาไม่ได้เลย..

ภาวะหมดไฟจะหายไปได้อย่างไร ถ้าชีวิตมีแต่ งาน งาน และ งาน?!

เป็นธรรมดาที่ช่วงเวลาของการทำงานและการพักผ่อนนั้นมักจะถูกแบ่งแยกกัน เมื่อถึงเวลาทำงาน เราก็ต้องทำงาน พอถึงเวลาเลิกงานแล้ว เราก็ต้องหยุดและไปพักซะ แต่นั่นไม่ใช่สำหรับคนที่มีงานมากกว่าหนึ่งงานอย่างแน่นอน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่การทำงานฟูลไทม์ควบคู่ไปกับอาชีพเสริมอื่นมักนำไปสู่ความวิตกกังวล ความเครียด และความเหนื่อยหน่ายในท้ายที่สุด ส่งผลให้อาการเบิร์นเอาท์ที่กลัวนักกลัวหนานั่นยังคงตามหลอกหลอนเราอยู่อย่างนั้น

อาการหมดไฟไม่ใช่สิ่งที่จะหายไปได้ง่ายๆ แต่จะทำอย่างไรให้ 2 อาชีพนี้สมดุล และ มีการ burnout ให้ได้น้อยที่สุดกันล่ะ?

  • รู้จักวางแผนจัดการเวลา: แน่นอนว่าเราไม่มีทางพ้นการบริหารเวลาอยู่แล้ว! เพราะการวางแผนที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จทั้งสองงานควบคู่กัน ตัวช่วยง่ายๆ ที่จะทำให้การจัดสรรเวลาให้เวิร์คคือการเขียนไดอารี่และการทำ To-Do-List

    การเขียนไดอารี่เป็นสิ่งสำคัญมากหากเราต้องทำงานสองงาน ยิ่งถ้าตารางงานของคุณยุ่งมากเป็นพิเศษ ให้ลองทำตาราง Planner เช่น แพลนใน Google Calendar อย่างบล็อคเวลาว่าจะทำอะไร ตอนไหนบ้าง เพื่อให้เราวางแผนเวลาได้อย่างละเอียด อีกอย่างหนึ่งก็คือการทำรายการสิ่งที่ต้องทำ เพราะการลิสต์สิ่งที่ต้องทำออกมา จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการผัดวันประกันพรุ่งได้ดีมากทีเดียว
  • เลือกงานที่สองอย่างรอบคอบ: หากเราตัดสินใจที่จะมีงานที่สองแล้วนั้น เงิน และ สกิล เป็นสิ่งสำคัญที่เราควรนึกถึงว่ามันคุ้มรึเปล่า? หากปัจจัยหลักของการหาอาชีพเสริมคือเรื่อเงินแล้วล่ะก็เราควรเลือกงานที่ตรงกับทักษะที่เรามีอยู่แล้ว เพราะนั่นเป็นสิ่งที่เราถนัดและเราก็คงไม่ต้องเสียเวลาไปกับการหาความรู้เพิ่มเติมถูกมั้ยล่ะ?

    แต่หากแรงจูงใจหลักคือการหาประสบการณ์ใหม่ๆ สิ่งสำคัญคือต้องเลือกให้ตรงกับความสนใจของตัวเอง เพราะนั่นจะช่วยทำให้เราเรียนรู้สกิลใหม่ได้ง่ายและเร็วขึ้น!
  • อย่าลืมให้ความสำคัญกับสุขภาพและคนรอบข้าง: แม้ว่าเราจัดการแบ่งเวลาให้กับงานแล้วอย่าลืมหาแพลนเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนก่อนที่จะสายเกินไป การดูแลตัวเองและพักผ่อนให้เพียงพอเป็นเรื่องที่สำคัญ พยายามรีชาร์จร่ายกายและจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นนิสัยในการหาวันหยุดทุกเดือน และอย่าแสร้งทำเป็นว่าจะหยุดพัก เพราะสุขภาพของเราน่ะหากมันพังแล้ว กว่าจะกู้กลับมาได้มันไม่ง่ายเลย

    นอกจากให้เวลากับสุขภาพแล้วก็อย่าลืมใช้เวลากับคนรอบข้างด้วย เพราะท้ายที่สุดแล้วการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นก็เป็นส่วนเติมเต็มและถือว่าเป็นการใช้เวลาที่คุ้มค่าต่อตัวเรานั่นเอง

อ้างอิง:

Whitham, S. (2022). How to successfully balance a Full-Time job and a side hustle without burnout. MUO. https://www.makeuseof.com/balance-full-time-job-and-side-hustle/ 

Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Highlights: “ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ” เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย? อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย

ใช้ Design Thinking ในชีวิตประจำวัน… ยังไงนะ?

Highlights: Design Thinking คืออะไร? Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่ผสมผสานตรรกะ สัญชาตญาณ และการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เราก็สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี แก้ได้ถูกจุด และเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ผ่าน 5

5 อาชีพไหน ที่ A.I. จะยังมาแทนที่มนุษย์ไม่ได้!

อย่างที่ทราบกันดีในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และ A.I. ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะและบทบาทของงานแทบจะทุกสายงาน ระบบ A.I. สามารถประมวลผลข้อมูลนับล้านภายในไม่กี่วินาที กลับกันถ้าเป็นมนุษย์ ก็คงใช้เวลานานกว่ามาก  ระบบอัตโนมัติและ A.I. กำลังกระตุ้นการปฏิวัติครั้งใหม่ตั้งแต่ไอทีไปจนถึงการผลิต ทำให้ความต้องการในตลาดแรงงานนั้นลดน้อยลงในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเทรนด์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้คนกังวลเรื่องความมั่นคงในงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าสกิลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นสกิลที่มีความต้องการสูงมากในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะอาชีพที่ยังต้องการมนุษย์นั้นจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า