Highlights:
- เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกัน
- คาล นิวพอร์ต (Cal Newport) ได้พบว่าการที่คนเราจะจดจ่อกับงานใดงานหนึ่งในระยะเวลานานนั้น เป็นความสามารถที่จะทำให้คุณได้เปรียบอย่างมาก
- Deep Work เหมาะกับสายงานแบบไหนกันนะ?
- การโฟกัสที่คุณภาพเป็นอะไรที่สำคัญ ‘มากกว่า’ ปริมาณ
จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ!
ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work?
หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ คาล นิวพอร์ต (Cal Newport) ที่ชื่อว่า “Deep Work – Rules for focused success in a distracted world” โดยทฤษฏี Deep Work นั้น คาล ได้พบว่าการที่คนเราจะจดจ่อกับงานใดงานหนึ่งในระยะเวลานานนั้น เป็นความสามารถที่จะทำให้เราได้เปรียบอย่างมาก เพราะถือเป็นสกิลที่มีค่าต่อการทำงาน และเป็นสิ่งที่หายากในปัจจุบัน ด้วยโลกเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นสิ่งเร้าต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ความสามารถที่คนเราจะโฟกัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานๆ เป็นอะไรที่หาได้ยากมากขึ้น
แล้ว Deep Work เหมาะกับสายงานแบบไหนกันนะ?
การจัดสรรเวลาถึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งหากคุณสนใจอาชีพ หรือ สายงานที่มีเวลาทำงานไม่แน่นอน การเริ่ม Deep Work ถือเป็นอะไรที่ควรค่ามาก เรามาดูตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ จากสายงานดังต่อไปนี้:
- Coding/Web Developer: สายงานนี้กว่าจะผลิตงานแต่ละชิ้นออกมาได้นั้น เราต้องใช้เวลากับมากอยู่แล้ว เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาหนึ่งอย่างในการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ เราอาจจะต้องกลับไปแก้ไขคำสั่งนั้นๆ ตั้งแต่เริ่มเลยก็เป็นได้
- Graphic Designer: จริงอยู่ที่บรรดากราฟิก ดีไซน์เนอร์ ต้องทำงานแข่งกับลูกค้า เอ๊ย! แข่งกับเวลา ยิ่งเวลาหลังจากได้รับบรีฟลูกค้ามาแล้ว บางครั้งบรีฟที่ได้มาอาจจะกว้างมาก หรือลูกค้าแทบจะไม่ได้บรีฟอะไรเลย ทำให้บางครั้งคนทำงานในสายงานนี้ต้องหัวหมุนไปกับการหาไอเดียมากมายไปนำเสนอลูกค้าในระยะเวลาอันแสนสั้น ยิ่งพอต้องหาความคิดสร้างสรรค์ มากมายมาเสนอลูกค้า ภายใต้เวลาอันน้อยนิด คุณภาพในงานที่ออกมาอาจจะไม่ดีเท่ากับปริมาณที่เรานำไปเสนอ เพราะข้อผิดพลาดก็มักจะมีมากตามไปด้วย
- Writer/Content Creator: การเขียนเรื่องราวอะไรออกมานั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้สมาธิอย่างมาก อย่างการเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่ง นักเขียนอาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ เพราะการสร้างเนื้อเรื่อง และเชื่อมโยงตัวละครเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลามหาศาลในการผูกกันเข้ามา ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม เจ. เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) ถึงใช้เวลากว่า 6 ปี ในการรังสรรค์โลกเวทมนตร์ ของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter) ทั้งหมด ก่อนที่จะวางขายเล่มแรกในปี 1997 ยาวมาจนถึงเล่มที่ 7 ในปี 2007 จนเป็นที่รักทั้งคอหนังสือ และคอภาพยนตร์มาจนถึงทุกวันนี้
“Quality is more important than quantity. One home run is much better than two doubles.” – Steve Jobs
ดังที่ สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) ได้กล่าวไว้นั่นแหละ การโฟกัสที่คุณภาพนั้นเป็นอะไรที่สำคัญ ‘มากกว่า’ ปริมาณ ดังนั้นเราควรจะเริ่มเข้าใจตัวเองก่อนว่าสไตล์การทำงานของเราเป็นแบบไหน หรืองานชิ้นไหนจำเป็นต่อการเริ่มแบบ Deep Work มากที่สุด
ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่ไหมล่ะ?
อ้างอิง: