รู้จัก Big Data ตัวช่วยความสำเร็จขององค์กร

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • ข้อมูลอย่าง Big Data นี้ เป็นประโยชน์ต่อองค์กรที่ต้องใช้ข้อมูลของลูกค้ามากมายเพื่อพัฒนากลไกลการทำงาน หรือบริการของพวกเขาให้ตอบโจทย์มากที่สุด ส่งผลให้ในปัจจุบันมีองค์กรที่มีชื่อเสียงได้ประสบความสำเร็จด้วยการใช้  Big Data เหล่านี้


Big Data หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นกลุ่มข้อมูลที่ไม่สามารถประมวลผลด้วยวิธีดั้งเดิมได้ เพราะเป็นข้อมูลที่มีปริมาณมากมหาศาล ส่งผลให้พวกมันถูกประมวลผลผ่านเครื่องมือ Automation เพื่อใช้สำหรับสถิติ การวิเคราะห์ และการตัดสินใจให้แก่องค์รต่างๆ

Big Data ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะตลอดหลายศตวรรษนั้น ผู้คนพยายามใช้การวิเคราะห์ข้อมูล และเทคนิคการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจอยู่สม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น จักรวรรดิโรมันก็เคยวิเคราะห์สถิติของกองทัพอย่างระมัดระวังเพื่อกำหนดการกระจายกำลังให้เหมาะสมสำหรับกองทัพมากที่สุด


แม้ว่าจะไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นคนคิดค้นเรื่องของ Big Data เป็นครั้งแรก แต่คนส่วนใหญ่ให้เครดิต จอห์น อาร์. มาชีย์ (John R. Mashey) ที่ทำให้ Big Data เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งคำนี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533 แล้ว

Big Data เริ่มมีอิทธิพลมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

ในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกัน Big Data ได้รับการขนานนามจาก คลิฟฟอร์ด ลินช์ (Clifford Lynch)  บรรณาธิการจากนิตยาสาร Nature ในฉบับพิเศษปี 2551 โดยเขาได้พูดถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลบนโลก ลินช์ได้อ้างถึงอาร์เรย์ของข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลต่างกันมากกว่า 150 GB ต่อวัน แต่ในตอนนั้นข้อมูลก็ยังไม่แน่ชัดมากเท่าไหร่นัก ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2554 การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้ถูกใช้ภายใต้กรอบของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสถิติเท่านั้น แต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2555 ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเมหาศาล ทำให้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งได้ให้ความสนใจกับ Big Data มากขึ้น หลายที่นำข้อมูลเหล่านั้นสอนด้านวิศวกรรมและความเชี่ยวชาญด้านไอที ต่อมาองค์กรด้านไอที เช่น Microsoft, Google, Apple, Facebook และ Amazon เป็นต้น ก็เริ่มเข้าร่วมการรวบรวมและวิเคราะห์ของ Big Data ในระยะเวลาใกล้เคียงกันด้วย

ในแวดวงธุรกิจ Big Data เป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจในด้าน..

  • การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่จะสามารถ “ตอบสนอง” ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำที่สุด
  • การวิเคราะห์ประสบการณ์ของลูกค้าเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือการบริการนั้น
  • การดึงดูดและรักษาลูกค้าด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่ ด้วยการสังเกตแนวโน้มและวิธีการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคเหล่านี้

แม้แต่ AIS องค์กรระดับประเทศก็คอยหาทางพัฒนา ปรับปรุง การใช้ Big Data เพื่อให้ทันต่อเศรษฐกิจ และผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา!

จากบทความของ Tech Off Side จะเห็นว่าที่ผ่านมาบริษัท AIS ได้มีการใช้ Big Data ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ลูกค้าอตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ในปีที่ผ่านมา AIS ได้ออกมาประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม AIS Big Data as a Service ที่จับมือร่วมกับบริษัท Blendata ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ Big Data แห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุที่ AIS เลือกที่จะร่วมมือกับบริษัทนี้นั่นก็เพราะ AIS นั้นมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้จำนวนมหาศาล อีกทั้งยังมีข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ทั้งหมด เพราะขาดเครื่องมือช่วยบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ ด้วยเหตุนี้ทำให้ Blendata เข้ามามีบทบาทในการร่นระยะเวลาในการวิเคราะห์ Big Data และแถมยังเน้นยำว่าจะช่วยลดต้นทุนให้กับ AIS อีกด้วย

ข้อดึก็มีแต่ปัญหาของ Big Data ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลย

  • ยิ่งมีข้อมูลเยอะ ความแตกต่างในตัวข้อมูลเองก็มีมากเช่นกัน บางครั้งจึงยากต่อการประมวลผล เพราะพอข้อมูลเยอะแล้ว การวิเคราะห์นั้นก็ยิ่งซับซ้อน ข้อผิดพลาดก็ยิ่งสะสมในการวิเคราะห์มากขึ้นเช่นกัน
  • การทำงานกับข้อมูลออนไลน์จำนวนมาก จึงไม่แปลกที่ต้องใช้ระบบประมวลผลที่มีพลังมหาศาล ซึ่งทรัพยากรดังกล่าวนั้นจึงมีราคาแพงอยากมาก และคงแค่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะสามารถลงทุน ลงแรงกับด้านนี้
  • ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจาก Cyber attack และการรั่วไหลของ Big Data ก็สูงมากเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากเรื่องอื้อฉาวของ Facebook กับ Cambridge Analytica กับการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้สำหรับแคมเปญการเลือกตั้งของ Donald Trump ในปี 2559  (หากใครสนใจอยากรู้เรื่องนี้มากขึ้น แนะนำ Documentary เรื่อง ‘The Social Dilemma’ บน Netflix เลย!)

จนถึงทุกวันนี้ Big Data ได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ในทุกอุตสาหกรรม รวมไปถึงหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลกเช่นกัน จึงไม่แปลกเลยว่าทุกวันนี้ธุรกิจต่างๆ รู้จักลูกค้าของตัวมากกว่าที่เรารู้จักตนเองเสียอีก ดังนั้นเราควรที่จะรู้จักและเข้าใจว่า Big Data มีอิทธิพลบนโลกนี้ขนาดไหน

อ้างอิง:

Kumari, R. (2021, March 10). Top 10 Companies that Uses Big Data. Analytics Steps. https://www.analyticssteps.com/blogs/companies-uses-big-data 

Nature – Volume 455 Issue 7209, 4 September 2008. (2008, September 3). Nature. https://www.nature.com/nature/volumes/455/issues/7209 
Pedz. (2021, July 15). Blendata x AIS 5G เปิดตัว AIS Big Data as a Service แพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data. ล้ำหน้าโชว์ (Tech Offside). https://www.techoffside.com/2021/07/blendata-ais-5g-big-data-ais-big-data-as-a-service-cloud/

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง ถ้าคุณคิดว่าเจ้าหมาหรือแมวที่บ้านของคุณเป็นแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา คุณอาจไม่ได้เกิดในยุคของ Gen Z เพราะสำหรับคนรุ่นนี้ หมากับแมวไม่ใช่แค่เพื่อนซี้ แต่คือโปรเจกต์สร้างความสุข ไลฟ์สไตล์ และความยั่งยืนที่ต้องเป๊ะทั้งในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ ตามรายงานจาก The Sun

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ

เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Highlights: ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง? ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง