ลำบากแล้วไง? มารู้ข้อดีของการแชร์ ‘Struggle’ ให้คนอื่นกัน

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • Struggle หรือความยากลำบาก ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย การเล่าเรื่องราวเหล่านั้นให้คนอื่นฟังก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะทุกๆคนต่างกำลังเผชิญทั้งเรื่องดีและไม่ดีอยู่ก็ได้
  • บทความนี้ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจว่าทำไมคนเราควรบอกหรือเล่า Struggle ให้ผู้อื่นฟัง

เคยรู้สึกกันไหมว่าเวลาเรามีเรื่องร้ายๆ เข้ามาในชีวิต เราต้องการที่จะแบ่งปันความกังวลเหล่านี้กับคนใกล้ชิด เช่น ปัญหาเรื่องสุขภาพ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่ความรู้สึกที่ว่า เราไม่ได้ประสบความสำเร็จมากพอ หรือไปจนถึงเรื่องอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดความวิตกกังวลหรือซึมเศร้าต่อตัวเองได้ เราอยากจะแชร์ให้คนรอบข้างรับรู้ไหมนะ?

แน่นอนว่าเมื่อเราได้พูดคุยกับใครบางคนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เรามักจะรู้สึกผ่อนคลายลงไม่มากก็น้อยที่ได้กำจัดก้อนภูเขาเหล่านั้นออกจากตัวเอง และแม้จะแค่ชั่วคราว แต่เพียงแค่ได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์ ก็ไม่แปลกที่เราจะรู้สึกว่า เฮ้ย! มีคนที่รับฟังเราอยู่นี่นา.. 

อย่างไรก็ตาม ในโลกอีกมุมหนึ่ง การได้นำเรื่องลบๆ ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกับตัวเราไปแบ่งปันให้คนอื่นได้รับรู้ จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องที่เสียหายอะไร หากเราสื่อสารออกไปอย่างถูกวิธี เรื่องราว หรือปัญหาเหล่านั้น อาจจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นก็ได้

‘Struggle’ หรือความยากลำบากไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย หากเราได้ข้ามผ่านช่วงเวลาต่างๆ เหล่านั้นมาแล้ว หรืออาจะยังเผชิญกับสิ่งนั้นอยู่ แต่การเล่าเรื่องราวเหล่านั้นให้คนอื่นฟังก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะทุกๆคนต่างกำลังเผชิญทั้งเรื่องดีและไม่ดีอยู่ก็ได้

  • เราสามารถเป็นแรงผลักดันให้ผู้อื่นได้: การแบ่งปันเรื่องราวของเราจะทำให้คนอื่นรับรู้ว่าพวกเขาไม่ได้เผิญเรื่องราวแย่ๆ อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ มันสามารถทำให้เขาเห็นว่าคนอื่นๆ ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายๆ กัน นั่นแหละ สำหรับผู้ฟังบางคนที่กำลังผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากคล้ายๆกัน การเล่าประสบการณ์ หรือสถานการณ์เหล่านี้จะช่วยพวกเขาได้เป็นอย่างดี การที่พวกเขาได้สะท้อนสิ่งเหล่านี้ผ่านการฟังจากคนอื่น มันจะสามารถช่วยให้ค้นพบแนวทางแก้ไขสำหรับไปใช้กับปัญหาของพวกเขาเอง
  • ช่วยให้เราได้ฝึกความกล้ากับตัวเอง: มันแน่นอนอยู่แล้วแหละ ความกลัวเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องประสบพบเจอ ดังนั้นความไม่สบายใจในการยอมรับกับความล้มเหลว หรือช่วงเวลาที่อ่อนแออื่นๆ มักจะเป็นอุปสรรคในการที่ทำให้เราพูดถึงเรื่องราวเหล่านั้นต่อคนจำนวนมาก แต่อันที่จริงแล้ว การพยายามให้ตัวเองพบกับช่วงเวลาที่เปราะบางนั้นเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างน่าประหลาดใจ  เพราะฉะนั้นการเปิดใจแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองทั้งในด้านดีและไม่ดี ต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมาก และความกล้าหาญนั้นต้องอาศัยการฝึกฝน
  • ใครๆ ก็จะหันมาชื่นชม: เมื่อเราก้าวผ่านความกลัวได้แล้วนั้น เรื่องราวต่างๆที่ผู้อื่นได้รับรู้ก็จะถือเป็นแรงบันดาลใจ บทเรียนให้กับผู้อื่น ดังนั้นไม่แปลกเลยที่จะมีคนมาให้กำลังใจและสนับสนุนเรามากขึ้นหลังจากที่พวกเขาได้รับฟังปัญหาเหล่านั้นแล้ว หากไม่มีใครรู้ถึงการต่อสู้ของเรา คนอื่นก็จะไม่มีทางรู้เลยว่าจะให้กำลังใจ หรือสิ่งที่เราเอาชนะเพื่อมาถึงจุดที่เราอยู่ทุกวันนี้นั้นมันเป็นอย่างไร
  • ช่วยให้ได้ทบทวนถึงบทเรียนที่ได้จากเหตุการณ์นั้น: มุมที่ดีอีกอย่างของการแบ่งปันเรื่องราว คือการช่วยให้เราเข้าใจอดีตของตัวเองมากขึ้น อะไรที่เคยผิดพลาด? อะไรที่เราทำถูกแล้ว? การทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และวิธีที่เราได้จัดการกับสถานการณ์เหล่านั้นจะสามารถช่วยให้เราค้นพบว่า จะทำอย่างไรให้ดีขึ้นในอนาคต ควบคู่ไปกับการแบ่งปันเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้ผู้อื่นได้เรียนรู้อีกด้วย

When you don’t share your problems, you resent hearing the problems of other people. –  Chuck Palahniuk (ชัก พอลานิก)

เพราะเราไม่มีทางรู้หรอกว่าใครบ้างที่ต้องการรับรู้ความเรื่องราวของเรา บางคนอาจกำลังทนทุกข์ และหาทางออกไม่เจอในตอนนี้ ดังนั้นเรื่องราวของเราอาจจะสามารถสร้างแรงบันดาลที่จะกำลังใจพวกเขาก็ได้นะ เพราะฉะนั้นหากเราเคยเจอเรื่องอะไรที่อยากมาแบ่งปันเป็นประสบการณ์ให้ผู้อื่น ก็อย่าลืมลองเปิดใจเล่าให้คนอื่นฟังล่ะ

อ้างอิง:Toren, M. (2015, September 24). 5 Ways You Benefit From Sharing Your Story Of Struggle. Entrepreneur. https://www.entrepreneur.com/leadership/5-ways-you-benefit-from-sharing-your-story-of-struggle/250641

Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Highlights: “ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ” เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย? อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย

ใช้ Design Thinking ในชีวิตประจำวัน… ยังไงนะ?

Highlights: Design Thinking คืออะไร? Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่ผสมผสานตรรกะ สัญชาตญาณ และการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เราก็สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี แก้ได้ถูกจุด และเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ผ่าน 5

5 อาชีพไหน ที่ A.I. จะยังมาแทนที่มนุษย์ไม่ได้!

อย่างที่ทราบกันดีในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และ A.I. ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะและบทบาทของงานแทบจะทุกสายงาน ระบบ A.I. สามารถประมวลผลข้อมูลนับล้านภายในไม่กี่วินาที กลับกันถ้าเป็นมนุษย์ ก็คงใช้เวลานานกว่ามาก  ระบบอัตโนมัติและ A.I. กำลังกระตุ้นการปฏิวัติครั้งใหม่ตั้งแต่ไอทีไปจนถึงการผลิต ทำให้ความต้องการในตลาดแรงงานนั้นลดน้อยลงในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเทรนด์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้คนกังวลเรื่องความมั่นคงในงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าสกิลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นสกิลที่มีความต้องการสูงมากในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะอาชีพที่ยังต้องการมนุษย์นั้นจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า