“สมาธิสั้น” วายร้ายของวัยทำงาน​: Attention Deficit Disorder

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • ภาวะ Adult Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) นับว่าเป็นอุปสรรคที่ทำให้เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นและมันยังเป็นตัวทำลาย productivity ชั้นดี
  • ADHD เคยถือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้มากในวัยเด็ก แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นภาวะที่มีในวัยผู้ใหญ่เช่นกัน
  • ดร. แรลลี่ ซิลเวอร์ (Larry Silver, M.D.) จิตแพทย์ใน วอชิงตัน ดี.ซี. ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การรักษาด้วยยาเฉพาะทางของภาวะ ADHD นั้นยังไม่เพียงพอ

เคยมั้ยที่คุณหัวหมุนเพราะต้องการทำโปรเจกต์ให้เสร็จทันเดดไลน์? หรือจมอยู่กับงานยิบย่อยเป็นเวลาหลายชั่วโมงแล้วไม่เสร็จสักที?

ไม่แปลกที่ในบางครั้งทุกคนต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ในชีวิตทำงาน บางคนก็สามารถจัดการกับมันได้ แต่สำหรับบางคนที่มีภาวะ Adult Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) นับว่าเป็นอุปสรรคที่ทำให้เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นและมันยังเป็นตัวทำลาย productivity ชั้นดี

ADHD หรือที่เรารู้จักกันอย่างดีใน “สมาธิสั้น” หรือมีอีกชื่อหนึ่งก็คือ Attention Deficit Disorder (ADD) โดยภาวะนี้ถือว่าเป็นภาวะที่พบได้ง่ายในวัยเด็ก และน้อยครั้งที่จะพบในผู้ใหญ่ ทว่าปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญได้ยอมรับกันมากขึ้นว่า ภาวะสมาธิสั้น เป็นภาวะที่เรื้อรังมีในวัยผู้ใหญ่มากขึ้นจากแต่ก่อน ด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 6% ถึง 30% และอาจสูงกว่านั้นด้วยซ้ำ เพราะ ADHD นั้นยากต่อการวินิจฉัยในผู้ใหญ่ เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่พบว่ามีภาวะนี้มีอาการมาตั้งแต่เด็ก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การวินิจฉัยจะตกหล่นไป

หากอาการ ADHD ในผู้ใหญ่มักคล้ายกับภาวะ ADHD ในวัยเด็ก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ภาวะ ADHD มีลักษณะแบบไหนในผู้ใหญ่?

มีวิจัยมากมายได้เชื่อมโยงภาวะสมาธิสั้นในผู้ใหญ่กับปัญหาในที่ทำงาน เช่น การจัดการเวลาและสมาธิที่ไม่ดี การผัดวันประกันพรุ่ง หรือการหลงลืมอะไรสักอย่าง เป็นต้น แต่โดยหลักๆ ภาวะนี้ มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท คือ 1) การขาดสมาธิ (Inattention) เช่น ไม่ใส่ใจในรายละเอียด การยากที่จะเริ่มและทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด ความลำบากในการโฟกัสกับงานตรงหน้า การบริหารเวลาไม่ดี เป็นต้น 2) ความหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) เช่น ขัดจังหวะผู้อื่นบ่อยๆ 3) ความผิดปกติทางอารมณ์ (Emotional dysregulation) และ 4) ความอดทนต่อความผิดหวังต่ำ (Low frustration tolerance)

มีวิธีไหนบ้างนะที่เราสามารถป้องกันภาวะ ADHD ได้ควบคู่ไปกับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ?

มนุษย์เงินเดือนที่เป็นภาวะสมาธิสั้นมักจะพยายามพบแพทย์และใช้ยาเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับงาน แต่ ดร. แรลลี่ ซิลเวอร์ (Larry Silver, M.D.) จิตแพทย์ใน วอชิงตัน ดี.ซี. ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การรักษาด้วยยาเฉพาะทางของภาวะ ADHD นั้นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะจริงๆ แล้วคีย์สู่ความสำเร็จในการบรรเทาภาวะนี้ก็คือ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานของเราให้เหมาะสม

ดังนั้นการเข้าใจปัจจัยที่ให้เกิดภาวะสมาธิสั้นในการทำงานและการป้องกันเบื้อนต้นด้วยตัวเองจึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก วิธีง่ายๆ ที่ทำได้เอง เช่น:

  • ลดสิ่งรบกวนให้เหลือน้อยที่สุดคือสิ่งสำคัญที่สุด: หากไม่เหนือบ่ากว่าแรง การเริ่มทำงานเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ต้องใช้เวลากับมันมากก็น่าจะเป็นตัวช่วยที่ดี เช่น ตอบอีเมลล์ที่ค้างไว้ของเมื่อวาน หรือ การทำส่วนที่ค้างไว้ให้เสร็จ แล้วค่อยลุยต่อกับงานใหม่ๆ โดยไร้กังวล
  • อย่าหลุดโฟกัสไปกับ Sudden Moment: เคยมั้ยบางครั้ง ไอเดียใหม่ๆ ก็ดันผุดขึ้นมาในระหว่างที่เราทำงานอยู่ หรืออยู่ดีๆก็นึกอะไรขึ้นได้ซะอย่างนั้น แน่นอนว่าอะไรแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวสำหรับคนที่มีภาวะสมาธิสั้น หากเป็นไปได้ให้รีบจดโน๊ตเอาไว้แล้วค่อยกลับมาดูทีหลังดีกว่าหลุดโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
  • อย่าเผลอไผลไปกับอาการเหม่อลอย: ไม่แปลกหากอยู่ดีๆ ก็จินตนาการว่าทำอย่างอื่นอยู่หากสิ่งตรงหน้ามันน่าเบื่อ โดยอาการนี้ถือเป็นสัญญาณบอกว่าเราคงต้องทำให้งานมันน่าสนใจยิ่งขึ้นแล้วแหละ เช่น เปิดเพลงคลอเบาเบา ก็น่าจะช่วยให้เราโฟกัสได้มากขึ้นอยู่นะ

เห็นมั้ยล่ะว่าภาวะ ADHD ส่งผลกระทบต่อชีวิตพวกเราในทุกด้าน ภาวะสมาธิสั้นทำให้การใส่ใจในรายละเอียดเป็นการต่อสู้ที่ไม่รู้จบของผู้คนที่มีปัญหากับภาวะเหล่านี้ ยิ่งหากยังไม่ได้รับการวินิจฉัย ไม่ได้รับการรักษา หรือ ไม่รู้จักสังเกตตัวเอง ทั้งหมดนี้อาจส่งผลเสียต่อความผาสุกทางจิตใจ และคุณภาพชีวิตของเราไปอีกยาว เพราะฉะนั้นอย่าลืมลองสำรวจตัวเองกันดูล่ะ หากมีอาการเหล่านี้ รีบกันไว้ดีกว่าแก้ก็ไม่เสียหายหรอกถูกมั้ย?

อ้างอิง:

ADDitude Editors. (2023, January 20). Adult ADHD: A guide to symptoms, signs, and treatments. ADDitude. https://www.additudemag.com/adhd-in-adults/

Kessler et al., (2006, April). The Prevalence and Correlates of Adult ADHD in the United States: Results From the National Comorbidity Survey Replication. American Psychiatric Association. https://ajp.psychiatryonline.org/doi/full/10.1176/ajp.2006.163.4.716

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง ถ้าคุณคิดว่าเจ้าหมาหรือแมวที่บ้านของคุณเป็นแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา คุณอาจไม่ได้เกิดในยุคของ Gen Z เพราะสำหรับคนรุ่นนี้ หมากับแมวไม่ใช่แค่เพื่อนซี้ แต่คือโปรเจกต์สร้างความสุข ไลฟ์สไตล์ และความยั่งยืนที่ต้องเป๊ะทั้งในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ ตามรายงานจาก The Sun

ใช้ Design Thinking ในชีวิตประจำวัน… ยังไงนะ?

Highlights: Design Thinking คืออะไร? Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่ผสมผสานตรรกะ สัญชาตญาณ และการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เราก็สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี แก้ได้ถูกจุด และเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ผ่าน 5

5 อาชีพไหน ที่ A.I. จะยังมาแทนที่มนุษย์ไม่ได้!

อย่างที่ทราบกันดีในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และ A.I. ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะและบทบาทของงานแทบจะทุกสายงาน ระบบ A.I. สามารถประมวลผลข้อมูลนับล้านภายในไม่กี่วินาที กลับกันถ้าเป็นมนุษย์ ก็คงใช้เวลานานกว่ามาก  ระบบอัตโนมัติและ A.I. กำลังกระตุ้นการปฏิวัติครั้งใหม่ตั้งแต่ไอทีไปจนถึงการผลิต ทำให้ความต้องการในตลาดแรงงานนั้นลดน้อยลงในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเทรนด์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้คนกังวลเรื่องความมั่นคงในงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าสกิลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นสกิลที่มีความต้องการสูงมากในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะอาชีพที่ยังต้องการมนุษย์นั้นจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า