อัปสกิลที่มีอยู่ สู่งานใหม่ที่ดีกว่า ด้วย Transferable Skills

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • Transferable skills คือ สกิลเซ็ตและความสามารถหลักของพวกเรา ที่สามารถนำไปใช้กับงานและอุตสาหกรรมต่างๆ ได้หลากหลาย เป็นสกิลทั่วไปที่เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ระหว่างสายอาชีพใหม่และเก่า
  • การเตรียมตัวสำหรับ Transferable skills เป็นประโยชน์ให้กับหลายกลุ่มคน เช่น นักศึกษาจบใหม่ หรือ ผู้ที่ทำงานแล้วมีความจำเป็นต้องหางานใหม่ในเวลาอันกระชั้นชิด
  • การที่เรามี Transferable skills นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันไม่ใช่สกิลเฉพาะเพื่องานใดงานหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นสกิลทั่วไปที่เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ระหว่างสายอาชีพใหม่และเก่าได้

ปัจจุบันการทำงานให้ตรงสายกับที่เรียนมานั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างที่จะท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะบางสายงาน เช่น งาน Adminstrative ทั่วไป หรือสาย Creative นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนรักและถนัด แต่ด้วยฐานความต้องการของสายอาชีพพวกนี้อาจจะไม่ได้มีความต้องการในตลาดมากเท่ากับพวกสายอาชีพเฉพาะ อย่างวิศวกร หรือเทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน หางานยากขึ้น ยิ่งบางอาชีพนั้นเงินค่าจ้างที่ได้ก็คงไม่ได้มากมายเท่าไร..

การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศได้ไตร่ตรองเส้นทางอาชีพของตน มองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและอาชีพมากขึ้น

คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนในตอนนี้กำลังหาลู่ทางที่จะเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเอง เพราะฉะนั้นการโยกย้ายเปลี่ยนงานจึงอาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ คนในยุคนี้ต้องคำนึงถึง และไม่แปลกที่สภาพความไม่แน่นอนในแต่ละวันจะส่งผลให้หลายคนเริ่มถามตัวเองว่า จะเปลี่ยนอาชีพที่กำลังทำอยู่ดีมั้ย? แล้วถ้าทำได้ ทักษะอะไรบ้างที่พวกเขาเหล่านี้จะสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเอาชนะคู่แข่งที่กำลังหางานได้?

คำตอบก็คือ สกิลเก่าๆ ที่มีอยู่นั่นแหละ หรือที่ถูกขนานนามไว้ว่า “Transferable Skills”

Transferable Skills คืออะไร?

Transferable Skills ทักษะที่ถ่ายทอดได้ หรือ ทักษะที่พกพาได้ คือทักษะทั้งหมดที่เรามีติดตัวจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิด หรือการเป็นทีมเวิร์คที่ดี หรือจริงๆ แล้ว Transferable Skills ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Skills หรือ Power Skills นั่นเอง (LINK บทความของ Mydemy ที่เกี่ยวกับ Power Skills)  ดังนั้นทักษะ หรือสกิลเหล่านี้จึงเป็นตัวอย่างของทักษะที่สามารถถ่ายทอดไปใช้ใหม่ได้

การที่เรามี Transferable skills นั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะมันไม่ใช่สกิลเฉพาะเพื่องานใดงานหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นสกิลทั่วไปที่เราสามารถปรับเปลี่ยนไประหว่างสายอาชีพใหม่และเก่าได้ ดังนั้นสกิลนี้สามารถนำไปใช้ในที่ทำงานได้หลายวิธี โดยก่อนที่จะเริ่มปรับแต่งเรซูเม่ หรือก่อนจะมีสัมภาษณ์ในการหางานใหม่เราต้องทบทวนกับตัวเองก่อนว่า สกิลอะไรบ้างที่เราสามารถปรับไปใช้กับตำแหน่งใหม่ที่เราสนใจได้

หากเปรียบเทียบกับทักษะทางเทคนิค (Technical Skills) หรือ Hard Skills ทั้งหลาย ตัวอย่างเช่น โปรแกรมเมอร์ที่เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนโค้ด แต่เพียงความรู้เท่านั้นก็ยังไม่พอ หากเรามี Transferable Skill ด้วย ก็จะสามารถอัปเกรดและการันตีคุณภาพงานของเราได้ดีมากขึ้นอีก

ลองนึกภาพดูว่าการที่เราโปรแกรมเมอร์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย ซึ่งความคิดสร้างสรรค์นี้อาจจะเป็นสกิลที่เราได้มาจากอาชีพก่อนหน้า เช่น UX Designer หรือ Content Writer ก็ย่อมมีคุณภาพมากกว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโค้ดเป็นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยล่ะว่า Transferable skill นั้นมีประโยชน์อย่างมากเวลาที่เราเปลี่ยนสายงาน

ตัวอย่าง Transferable Skills แบบไหนกันล่ะที่หาได้ง่ายๆ จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา และสามารถนำไปใส่ในเรซูเม่ หรือพรีเซนต์ระหว่างการสัมภาษณ์งานได้?

  • Time management & Proritization: จะว่าไปแล้วนั้น สกิลการจัดการเวลากับการจัดลำดับที่ดีเป็นสิ่งที่ควรมาคู่กัน เช่น การทำ To-do-list การจัดตารางเวลาในแต่ละวัน  เพราะสกิลเหล่านี้ไม่เพียงแต่พิสูจน์ให้เห็นว่าเราสามารถทำงานได้ตามกำหนดเวลาและตรงเวลาเท่านั้น แต่ยังพิสูจน์ได้อีกว่าเราก็สามารถทำงานให้เสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน
  • Creativity: Thinking outside of box หรือการคิดนอกกรอบ และความสร้างสรรค์ก็สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างง่ายดาย เพราะการมีไอเดียใหม่ๆ ก็ถือว่าเป็นทักษะอีกทางที่จะสามารถช่วยค้นหาวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลายให้กับงานของเราได้
  • Detail-Oriented: การใส่ใจในรายละเอียด คือความสามารถที่จะช่วยการันตีถึงความมีประสิทธิภาพของเราได้เป็นอย่างดี เพราะสกิลนี้สะท้อนให้เห็นถึงแสดงความเป็นคนช่างสังเกต สามารถจดจ่อกับประเด็นที่สำคัญแม้ในสิ่งคนอื่นอาจมองข้ามไป
  • People Skill: เช่น ทีมเวิร์ค หรือการสื่อสารก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสกิลนี้เช่นกัน เพราะการทำงานเป็นทีมไม่เพียงแต่เพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรหรือเท่านั้น แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มที่ทำงาน และยังช่วยเสริมให้สถานที่ทำงานของเราเป็น comfort zone ได้อีกด้วย

เห็นแล้วรึยัง? ว่าเราไม่ควรมองข้ามคุณค่าของ Transferable skill ไป เพราะสกิลเหล่านี้สามารถเพิ่มคุณภาพในการทำงาน พร้อมทั้งยังเป็นการ Reskill Upskill รวมไปถึงเปิดโอกาสให้เราโดดเด่นจากคู่แข่งคนอื่นในการหางานอีกด้วย!

อ้างอิง:

Herrity, J. (2023, March 1). Transferable skills: 10 skills that work across industries. Indeed. https://www.indeed.com/career-advice/resumes-cover-letters/transferable-skills 
Transferable skills: the key to job mobility. (2022, July 8). Rise Up. https://blog.riseup.ai/en/transferable-skills

Slash Career – คุ้มไหมนะ ถ้าอยากมีมากกว่า 1 อาชีพ?

Highlights: มนุษย์เงินเดือนหลายคนพบว่า การทำงานประจำ หรือมีแค่อาชีพเดียวนั้นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเกินไป ไม่ได้รู้สึกชอบ หรือรายรับอาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงวิติ ถ้าอย่างนั้น.. จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเลือกทำ (อย่างน้อย) สองอาชีพในเวลาเดียวกัน หรือมันจะดีกว่ารึเปล่าที่จะมุ่งมั่นไปที่สิ่งเดียว? Slash career เป็นคำที่ใช้เรียกของอาชีพที่คนเลือกทำงานหลายอย่างในเวลากันเดียว  ซึ่งคนเหล่านี้ก็ถูกเรียกว่า Slashies บางคนอาจจะมีสองงาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราเป็น

เพราะอะไร? ทำไมถึงตัดสินใจลาออกจากงานกันง่ายขึ้น?

Highlight: เคยสังเกตกันไหมว่าผู้คนที่ทำงานในที่ใดที่หนึ่ง หรือสายงานใดสายงานหนึ่งเป็นระยะเวลานานมากๆ อย่างน้อยประมาณ 3-5 ปี เป็นอย่างต่ำ จะไม่ค่อยลาออกจากงานกันง่ายๆ หากเทียบกับยุคสมัยใหม่นี้ การลาออกจากงาน หรือย้ายสายงาน กลับกลายเป็นเรื่องธรรมดาซะอย่างนั้น? ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนที่ผ่านมา McKinsey ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้คนในตลาดแรงงานมากกว่า 13,000 คนทั่วโลก พบว่ากว่า 40% ของคนกลุ่มนี้

7 วิธีพักผ่อนที่มากกว่าแค่การนอนหลับ

Highlights: คงจะเป็นปกติที่เราจะมีอาการเหนื่อยล้ามากๆ หลังจากผ่านการใช้ชีวิตประจำวันมาในแต่ละวัน วิธีการพักผ่อนที่เรามักจะนึกถึงเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ก็คงจะหนีไม่พ้นการพยายามนอนหลับให้เต็มอิ่ม หรือนอนให้ได้มากที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าการนอนหลับนั้นไม่ใช่การฟื้นฟูร่างกายที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกนะ เมื่อการนอนหลับไม่ใช่การพักผ่อนที่ถูกต้องที่สุด อย่างไรก็ตาม การนอนหลับพักผ่อนก็ไม่ใช่วิธีที่เวิร์คสำหรับทุกคนเสมอไป.. เพราะมีวิจัยจาก Sleep Foundation ออกมาว่า คนไทยโดยเฉลี่ยนั้นมีปัญหาการนอนมากถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ยประมาณ 19 ล้านคนด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงอยู่เหมือนกัน