ใช้ Design Thinking ในชีวิตประจำวัน… ยังไงนะ?

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • Design Thinking คือ เทรนด์แนวคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ที่กำลังมาแรงในปัจจุบันที่เป็นตัวช่วยในการวางแผนให้คนมองเห็นเป้าหมายและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระเบียบมากขึ้น
  • เคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ จากบทความของ Brandfolder ที่จะทำให้เราเข้าใจและเห็นภาพของ Design Thinking ได้ง่ายขึ้นด้วยการปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราเอง

Design Thinking คืออะไร?

Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่ผสมผสานตรรกะ สัญชาตญาณ และการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เราก็สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี แก้ได้ถูกจุด และเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอนที่สำคัญของระบบ Design Thinking คือ การทำความเข้าใจ (Empathize),  การนิยาม (Define), ความสร้างสรรค์ (Ideate), การจำลอง (Prototype) และการทดสอบ (Test)

อย่างที่เราทราบกันดี Design Thinking เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ที่เป็นตัวช่วยในการวางแผนให้คนมองเห็นเป้าหมายและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระเบียบ วิธีการคิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นจะในบริษัทขนาดใหญ่ ไปจนถึงบริษัทขนาดเล็ก แต่อันที่จริงแล้วเทคนิคนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะนักออกแบบเท่านั้น เพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบนี้ได้ เพื่อมาพัฒนาทักษะตัวเองให้เป็น Problem-solver ที่ดีได้

Design Thinking ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด

เพื่อเริ่มต้นเส้นทางสู่การเป็นนักแก้ปัญหาที่ดีขึ้น เราจะมาแนะนำเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ จากบทความของ Brandfolder ที่จะทำให้เราเข้าใจและเห็นภาพของ Design Thinking ได้ง่ายขึ้นด้วยการปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราเอง

  1. รู้จักมองภาพรวมของปัญหา (Visualize Your Problem)

ไม่ว่าเรากำลังจะพยายามแก้ปัญหาสำคัญระดับโลกหรือจัดการกับเรื่องจุกจิกเล็กๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การพยายามมองภาพรวมที่กว้างๆ จะทำให้เราเห็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้น การวาดแผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ หรือเขียน Journal จะช่วยให้เราระบุแต่ละส่วนและเห็นว่าตรงจุดไหนคือปัญหาที่เราควรโฟกัส

  1. ตั้งคำถามและชาเลนจ์ต่อข้อสมมติฐาน (Challenge Common Assumptions)

หลังจากที่เรามองเห็นภาพรวมของปัญหาแล้ว การพยายามตั้งข้อสมมติฐาน หรือตั้งคำถามให้กับปัญหานั้น จะช่วยให้เราแยกแยะข้อสันนิษฐานเพื่อเริ่มคิดค้นแนวคิดนอกกรอบ  (think out-of-box) ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นนักการตลาดของ start-up แห่งหนึ่ง การยิง Ads กว้างๆ โดยไม่มี target audience จะทำให้การหาลูกค้ายากขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นการท้าทายสมมติฐาน เราอาจจะตั้งคำถามว่า “ถ้าหากเรามี target audience ที่ต้องการหา service ที่เราต้องการให้ยอดขายถึงเป้าเร็วที่สุดล่ะ?” แค่นี้เราก็เห็นภาพแล้วว่าเราควรจะยิง ads แบบไหนให้ตรงถึงกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการ

  1. การคิดสวนกระแส (Reverse Your Thinking)

การคิดสวนกระแส หรือ “Problem Reversal” เป็นการเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหา หรือการตั้งคำถาม เพื่อที่จะสามารถนำไอเดียใหม่ๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับประเด็นนั้นได้ พูดอย่างง่ายๆ ก็คือ แทนที่จะคิดถึงวิธีการแก้ปัญหา ให้เปลี่ยนมาเป็นคิดถึงต้นเหตุ หรือสิ่งที่อาจจะทำให้ปัญหาแย่ลง เพื่อที่เราจะได้ไอเดียว่าจะทำอย่างไรให้เราป้องกันปัญหานั้นไม่ให้เกิดขึ้น 

ตัวอย่างเช่น วันนี้ตารางงานของเรายุ่งมาก แต่เราอยากมีเวลาออกกำลังกาย แทนที่จะตั้งคำถามว่า “เราควรจะบริหารเวลายังไงถ้าวันนี้เวลาน้อยเกินไป?” โดยเปลี่ยนมาเป็น “นอกจากเวลาน้อยแล้ว ยังมีอะไรอีกที่ทำให้เราไม่สามารถออกกำลังกายได้?” คำตอบก็คงจะเป็น “การบริหารเวลาไม่ถูก หรือ ตื่นสาย ทำงานเกินเวลา เป็นต้น” ดังนั้นเมื่อเราย้อนกลับสถานการณ์นี้ เราจะสามารถเห็นปัญหาในมุมมองใหม่ และตัดสินใจได้ว่าจะจัดลำดับความสำคัญอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด

  1. เอาใจใส่ต่อผู้อื่น (Empathize With Your Audience)

การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความสำคัญต่อ Design Thinking มากๆ โดยการตั้งคำถามต่อพวกเขา เช่น ปัญหานี้มีผลกระทบต่อใครอีกบ้าง? ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร? หรือ สิ่งไหนที่จะช่วยบรรเทาทุกข์ของพวกเขาได้? เราก็สามารถถามคำถามนี้ได้ไม่ว่าสถานการณ์ของเราจะเกี่ยวข้องกับเพื่อนร่วมงาน ผู้จัดการ หรือแม้แต่ครอบครัว และคนรอบๆ ตัวของเราเอง

  1. ยอมรับความเสี่ยงและความล้มเหลว (Embrace Risk and Failure)

ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ.. หากเรามุ่งมั่นที่จะผสมผสานการคิดเชิงออกแบบเข้ากับชีวิตประจำวันของเรา การเอาชนะและยอมรับความกลัวที่จะล้มเหลวนั้นสำคัญมาก เพราะไม่มีทางที่ความคิด หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาของเรานั้นจะประสบความสำเร็จได้ในครั้งเดียว ดังนั้นหากมันจะเฟล ก็แค่เริ่มใหม่และย้อนดูในแต่ละขั้นตอน เราก็จะพบเจอปัญหา เผลอๆ ได้ไอเดียใหม่ขึ้นมาอีก

อ้างอิง:Polizzi, M. (2015, November 19). 5 ways to use Design Thinking in your daily routine. Brandfolder. https://brandfolder.com/blog/5-ways-to-use-design-thinking-in-your-daily-routine

Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Highlights: “ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ” เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย? อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย

5 อาชีพไหน ที่ A.I. จะยังมาแทนที่มนุษย์ไม่ได้!

อย่างที่ทราบกันดีในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และ A.I. ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะและบทบาทของงานแทบจะทุกสายงาน ระบบ A.I. สามารถประมวลผลข้อมูลนับล้านภายในไม่กี่วินาที กลับกันถ้าเป็นมนุษย์ ก็คงใช้เวลานานกว่ามาก  ระบบอัตโนมัติและ A.I. กำลังกระตุ้นการปฏิวัติครั้งใหม่ตั้งแต่ไอทีไปจนถึงการผลิต ทำให้ความต้องการในตลาดแรงงานนั้นลดน้อยลงในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเทรนด์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้คนกังวลเรื่องความมั่นคงในงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าสกิลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นสกิลที่มีความต้องการสูงมากในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะอาชีพที่ยังต้องการมนุษย์นั้นจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า

4 วิธีสร้าง productivity ด้วยตัวเอง ส่งตรงจากมือถือ

Highlights: โดยปกติแล้วคนเรามักจะเริ่มหยิบเอาสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาในยามที่ไม่รู้จะทำอะไร หรือบางทีการเล่นโทรศัพท์มือถืออาจจะเกิดขึ้นจากการที่เรากำลังพยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากข่าวสารที่ตึงเครียด หรืออยากหนีจากความวุ่นวายรอบๆตัว และด้วยสาเหตุพวกนี้แหละ มันมักจะเริ่มต้นด้วยการที่เราเลื่อนโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ พอรู้ตัวอีกทีมันก็กินเวลาไปมากแล้ว การไถหน้าจอไปเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการที่เราไม่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการใช้มือถือ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เวลาของเราซะเลย ด้วยสาเหตุพวกนี้แหละส่งผลให้การเลื่อนดูสมาร์ทโฟนไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายมักจะเกิดขึ้นกับพวกเราในยุคนี้ได้อย่างง่ายดาย แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ใครว่าเราไม่สามารถสร้าง productivity จากสมาร์ทโฟนของพวกเราเองได้? จริงๆแล้ว สมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันมันมีประโชน์มากกว่าที่เราคิดซะอีก เพราะในโทรศัพท์ของเรายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย และสามารถสร้าง productivity