อย่ากลัวที่จะถาม – มารู้จักตั้งคำถามให้ได้คำตอบที่ต้องการกัน

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • Asking the Right Questions ความหมายโดยตรง คือ การตั้งคำถามที่ถูกต้อง หรือเหมาะสม แต่จริงๆ แล้ว นี่คือการตั้งคำถามให้ได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการต่างหาก
  • ใจความสำคัญของการตั้งคำถามคือการที่ผู้ถาม ถามตรงประเด็นเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างบทสนทนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“ให้ตายสิ จะตอบคำถามนี้อย่างไรดีนะ?” 

ความรู้สึกมากมายวนอยู่ในหัวยามที่เราถูกทิ้งให้อยู่กับสถานการณ์ที่น่าอึดอัดใจจากการตั้งคำถามของคนอื่น ในบางครั้งหากเราไม่รู้ว่าควรตอบอย่างไร หรือบางครั้งเราเองก็ไม่สามารถเข้าใจได้ว่า พวกเขาต้องการอะไรจากเรากันแน่?! หากไม่อยากเจอเหตุการณ์เช่นนี้ เราควรทำไรอย่างไรดีล่ะ?

ทางออกที่ดีคือการทวนถามอีกครั้งเพื่อขอคำอธิบายให้กับเราเองได้มีโอกาสในการทำความเข้าใจคำถามอีกครั้ง แต่ก็จะมีบางกลุ่มคนที่ชอบแสร้งทำเป็นว่า เข้าใจทุกอย่างดี พะยักหน้าตอบอย่าง (เหมือนจะ) มั่นใจ ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรทำเลยแม้แต่น้อย!

จากผลสำรวจในพนักงานบริษัท และนักศึกษาของการวิจัย โดย อลิสัน วูด บรูคส์ (Alison Wood Brooks) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก Harvard Business School, ฟรานเชสก้า จีโน่ (Francesca Gino) ศาสตราจารย์จาก Harvard Business School และ มอริซ อี. ชไวเซอร์ (Maurice E. Schweitzer) ศาสตราจารย์แห่ง Wharton School จาก University of Pennsylvania ค้นพบว่า กลุ่มคนที่กล้าถามคำถาม และขอคำแนะนำจากผู้อื่นถือว่าเป็นคนที่ฉลาดและเป็นที่น่าสนใจ

“ผู้คนมักลังเลที่จะขอคำแนะนำเพราะกลัวว่าการทำคำถามที่สนใจจะทำให้พวกเขาดูไร้ความสามารถ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ขอคำแนะนำมักถูกมองว่ามีความสามารถมากกว่าผู้ที่ไม่มี” – อลิสัน วูด บรูคส์ (Alison Wood Brooks)

การถามคำถามที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ เพราะเวลามันคือเงิน คือทองน่ะสิ! ยกตัวอย่างเช่น การถามคำถามที่ถูกต้องกับลูกค้า เราก็จะได้รับข้อมูลที่จำเป็น ตรงพอยท์ และสามารถนำคำตอบเหล่านั้นไปสร้างกลยุทธ์เพิ่มเติมร่วมกับพวกเขาได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การถามคำถาม หมายถึงการแสดงความสนใจในผู้คน แสดงว่าเราพร้อมที่จะให้เวลากับพวกเขาจริงๆ 

6 วิธีการถามคำถามอันชาญฉลาด ที่ Mydemy เรียบเรียงมาจาก Indeed มีอะไรบ้าง?

  • นึกถึงสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว: อย่าเพิ่งสงสัยว่าเราจะถามในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วทำไม.. อันที่จริงแล้วการทบทวนความรู้ที่มีอยู่ของเราในเรื่องนั้นสามารถช่วยให้เราพบได้ว่า ยังมีเรื่องอะไรอีกบ้างนะที่เราอยากรู้เพิ่ม? การไต่ตรอง และคิดย้อนแบบนี้ช่วยให้เรากำหนดประเภทของคำถามที่อยากจะถามได้ง่ายขึ้น
  • ยืนยันว่าสิ่งที่เราต้องการเรียนรู้นั้นคืออะไร: การพิจารณาว่าเราต้องการรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมสามารถช่วยให้เราสร้างคำถามที่เหมาะเจาะได้ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจมีความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติความปลอดภัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกัน เราเองก็ต้องการที่จะศึกษา เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดความปลอดภัยที่ต้องใช้กับแผนกอื่นๆในบริษัท ดังนั้นเมื่อเราทบทวนความรู้เหล่านี้จะช่วยให้เรารู้ว่าข้อมูล หรือคำตอบแบบไหนที่เราควรถามผู้จัดการ เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ที่อยู่ฝ่ายด้านความปลอดภัยของบริษัท
  • เริ่มร่างคำถามขึ้นมา: การเขียนคำถามลงไป ไม่ว่าจะคิดขึ้นมาในหัว ก็ควรที่จะจดลงไปบนกระดาษ วิธีนี้จะสามารถช่วยเราให้ได้มีโอกาสปรับปรุงคำถามได้ นอกจากนี้การร่างคำถามออกมายังช่วยให้มั่นใจได้ว่าเรากำลังถามคำถามที่แม่นยำเพื่อที่จะให้ได้คำตอบที่เราต้องการได้ยินออกมา
  • ขัดเกลาคำถามให้เข้าใจง่ายๆ: การปรับคำถามให้ชัดเจนเพื่อสื่อถึงสิ่งที่เราต้องการทราบนั้นสามารถนำไปสู่คำตอบที่ดีได้อย่างง่ายดาย โดยวิธีนี้จะช่วยให้คนที่เราพูดคุยด้วยเข้าใจคำถามของเราได้ พอเราปรับแต่งคำถามมันมักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า และช่วยให้ผู้ฟังประหยัดเวลาได้มากเช่นกัน เพาะสิ่งนี้จะทำให้เราหลีกเลี่ยงการพูดซ้ำๆ
  • ทำให้คำถามเรียบง่าย ตรงประเด็น: การรวบคำถามของเราให้สั้นลงเป็นหลักในการถามคำถามที่ใช้ถ้อยคำได้เป็นอย่างดี สามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับคำตอบที่เราต้องการได้ง่ายขึ้น

    มากไปกว่านั้น การทำความเข้าใจว่าอีกฝ่ายรู้เรื่องนี้มากเพียงใดยังสามารถช่วยให้เราลดความซับซ้อนของคำถามได้ ดังนั้นสิ่งนี้จะทำให้เราสามารถถามคำถามได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายหัวข้อให้มันยืดเยื้อ
  • ถามอย่างมั่นใจและสุภาพ: ความมั่นใจสามารถช่วยแสดงให้เพื่อนร่วมงานของเราเห็นว่า เราทุ่มเทมากแค่ไหนเพื่อทำให้ความสงสัยที่เรามีนั้นมันหายไป แถมจะยังเป็นแบบอย่างให้คนอื่นได้ด้วยว่าการถามคำถาม ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเลยสักนิด

นอกจากนี้แล้วอย่าลืมที่จะคงความนอบน้อมและสุขภาพต่อผู้อื่นด้วยการให้เวลาเขาได้ทบทวน และคิดหาคำตอบที่เหมาะสมมาตอบเราด้วยล่ะ! เพราะคงไม่มีใครชอบหรอก หากมีเวลาที่จำกัด อีกทั้งเราอาจจะได้คำตอบที่ไม่ตรงคำถามอีกด้วย

อ้างอิง:

https://www.nytimes.com/2015/09/06/business/smart-workers-seek-out-advice-study-suggests

https://www.indeed.com/career-advice/career-development/how-to-ask-smart-que