‘ลาหยุด’ อย่างไรให้ดีต่อใจและการงาน?!

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • ภาวะหมดไฟในการทำงานมีมากขึ้นเรื่อยๆ และวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนวัยทำงานคือการรีเซ็ตและเติมพลังด้วยการใช้เวลาลาพักจากงานเพื่อมุ่งเน้นไปที่การพักผ่อนสุขภาพทั้งกายและใจ
  • ทุกคนมีวิธีการพักผ่อนแตกต่างกัน ในขณะที่คนหนึ่งอาจชอบวันหยุดยาวสักสองสามช่วงตลอดทั้งปี แต่คนอื่นก็อาจจะต้องการพักผ่อนในบางช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่สม่ำเสมอก็เป็นได้

ในวันหยุดพักผ่อน ไม่ว่าใครก็สามารถหลีกหนีจากความเครียดและตัดขาดจากการทำงานได้ด้วยการลาพักร้อน ซึ่งการลาหยุดนี้ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าข้อดีที่แท้จริงของการลาพักจากงานนั้นมีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น:

  • วันหยุดเพิ่มพลังงาน: การวิจัยพบว่า วันหยุดพักผ่อนช่วยเติมพลังงานให้กับเราหลังจากที่ใช้สมองมาราธอนมาเป็นเวลานาน ทำให้การทำงานง่ายขึ้นเมื่อเรากลับไปนั่งหน้าจอ หรือเข้าออฟิฟิศ
  • วันหยุดสามารถช่วยให้เรามีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพที่ดีขึ้น: นอกจากนั้นการถือโอกาสคลายเครียดและใช้เวลากับคนที่เรารักสามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายได้ มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ในเพศชาย และมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์สำหรับเพศหญิง เริ่มมองหาสถานที่พักผ่อนซะ
  • วันหยุดทำให้มีโอกาสปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน: ในเมื่อเราไม่อยู่ก็ต้องมีคนสแตนด์บายทำงานแทนใช่ไหม? ซึ่งหมายความว่าเราต้องรวบรวมวางแผนกระบวนการของเราสำหรับเพื่อนร่วมงานที่จะมาช่วยคัฟเวอร์ระหว่างเราไม่อยู่ให้เขาได้เข้าใจ และรับรู้ถึงงานที่เรากำลังทำว่ามีอะไรบ้าง เพราะแบบนี้เอง ทำให้เรามีฝึกทำเทรนนิ่ง สร้าง workflow และยังช่วยให้คนอื่นเสริมสร้างสกิลอื่นขึ้นมาใหม่จากการทำงานแทนเรา

วันหยุดในอุดมคติของพวกเราเพื่อขจัดความเครียด และสภาวะหมดไฟ

จากผลสำรวจของ Mercer ใน Linkedin พบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ ของ พนักงานออฟฟิศเลือกที่จะมีวันหยุดแบบไม่มีแผนตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวันลาวันไหน เดือนไหนก็ได้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ปัญหาสภาวะหมดไฟ

นอกจากนั้น ยังมีการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยคาลการี (University of Calgary) ที่สามารถยืนยันได้ว่า การลาพักร้อนไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อระดับความเครียดเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันความเหนื่อยหน่ายทางอารมณ์และหน้าที่การงาน ภาวะซึมเศร้า และการนอนไม่หลับอีกด้วย แต่ทั้งหมดนี้ใช้กับการพักผ่อนที่แอคทีฟเท่านั้น เพราะหากเราแค่ใช้เวลาช่วงวันหยุดทั้งหมดเอนกายลงบนเตียงนอน หรือนั่งเล่นเกมทั้งวันแล้วล่ะก็โอกาสที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า หรือความเหนื่อยหน่ายจะยังคงมีอยู่เท่าเดิม เผลอๆ อาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ

ลาหยุดแบบไหน และควรมีระยะเวลาเท่าไหร่?

บอนักวิทยาศาสตร์ไม่มีคำตอบให้แน่ชัด โดยทั่วไปมีสองแง่มุม บางวิจัยก็พบว่าบางคนชอบแบ่งวันหยุดออกเป็นช่วงสั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือบางคนเลือกที่จะลาหยุดระยะยาว 1 ถึง 2 ครั้ง ต่อปีเท่านั้น อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า การตัดสินใจไปเที่ยวพักผ่อนจะขึ้นอยู่กับเราเพียงคนเดียว แต่ท้ายที่สุดแล้วยังมีข้อจำกัดและความยากลำบากในการพิจารณาว่า เราสามารถใช้เวลาพักร้อนได้นานแค่ไหน โดยบางครั้ง ปัจจัยอื่นๆ อย่างสมาชิกในครอบครัว และสถานการณ์ทางหน้าที่การงานของเราเอง ก็มีผลต่อการตัดสินใจที่จะเลือกวันหยุดเช่นกัน เพราะการพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญต่อหน้าที่การงาน สุขภาพ และอารมณ์ที่ดีของเรา หากเราสามารถกระจายงานบางส่วนให้กับเพื่อนร่วมทีม จัดลำดับความสำคัญว่าอะไรควรทำก่อน  แล้วจงใช้เวลาว่างไปกับการพักผ่อน ทั้งเราและงาน จะได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ไม่ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลการศึกษามากมายแค่ไหน ไม่ว่าจะเลือกลาหยุดแบบไหน อย่าลืมนึกถึงตัวเองก่อนเป็นหลัก เพราะไม่มีวิธีใดถูกหรือผิด 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคิดจะพักผ่อนแล้ว ก็ให้ความสนใจไปที่ความต้องการและความรู้สึกของตัวเองด้วยล่ะ!

อ้างอิง:

Metcalf, M. (2023). Which is better: one long holiday, or lots of short ones? Timetastic. https://timetastic.co.uk/blog/which-is-better-one-long-holiday-or-lots-of-short-ones/ 

Stych, A. (2019, June 19). Random days off are nearly as popular as summer vacations. Biz Journals.  https://www.bizjournals.com/bizwomen/news/latest-news/2019/06/random-days-off-arenearly-as-popular-as-summer.html?page=all 

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ

เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Highlights: ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง? ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง

Breaking orthodoxies จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..? – มาหัดตั้งคำถามให้องค์กรเติบโตกันเถอะ

Highlights: ด้วยโลกในปัจจุบัน บางบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าปรับตามให้ทันยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากพวกเขาให้ความสำคัญกับการรักษาตำแหน่งทางการตลาดในปัจจุบัน และขอแค่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มีอยู่มากกว่าที่จะคว้านหาการสร้างโอกาสใหม่ และด้วยสาเหตุนี้เอง ที่มักจะทำให้พวกเขาต้องถึงทางตันในการทำธุรกิจ ดังนั้น ทางออกแบบไหนกันที่จะทำให้องค์กรที่ไม่กล้าเสี่ยงแบบนี้เติบโตได้? รู้จัก Breaking Orthodoxies (การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ) การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ การท้าทายและตั้งคำถามถึงวิธีการทำสิ่งต่างๆ แบบเดิมๆ ออร์ทอดอกซ์เป็นข้อสันนิษฐาน หรือความเชื่อที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นจริงในอุตสาหกรรม ตลาด