Slash Career – คุ้มไหมนะ ถ้าอยากมีมากกว่า 1 อาชีพ?

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • จากหนังสือ One Person/Multiple Careers ของ มาร์ซี อัลโบเฮอร์ (Marci Alboher) ที่เป็นไอเดียสำหรับผู้ที่มี Slash Career นิยามวลี “Slash Career” ให้กับผู้ที่มีมากกว่าหนึ่งอาชีพ หรือผู้ที่สร้างรายได้หลายทางในเวลาเดียวกันจากอาชีพที่แตกต่างกัน
  • การหาอาชีพที่สองจะสะดวกยิ่งขึ้นหลังจากที่ เราทราบว่าจริงๆแล้วเรายังมีด้านที่ถนัด หรือสนใจอยากลองทำ แต่ก็ยังไม่อยากจะทิ้งงานประจำ

มนุษย์เงินเดือนหลายคนพบว่า การทำงานประจำ หรือมีแค่อาชีพเดียวนั้นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเกินไป ไม่ได้รู้สึกชอบ หรือรายรับอาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงวิติ

ถ้าอย่างนั้น.. จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเลือกทำ (อย่างน้อย) สองอาชีพในเวลาเดียวกัน หรือมันจะดีกว่ารึเปล่าที่จะมุ่งมั่นไปที่สิ่งเดียว?

Slash career เป็นคำที่ใช้เรียกของอาชีพที่คนเลือกทำงานหลายอย่างในเวลากันเดียว  ซึ่งคนเหล่านี้ก็ถูกเรียกว่า Slashies บางคนอาจจะมีสองงาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราเป็น Accountant ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และตัวเราเองมีสกิลและชอบงาน Digital Marketing อยู่มากตั้งแต่สมัยเรียน จู่ๆ วันหนึ่งเราเกิดอยากได้รายได้เสริมอีกทาง การสมัครงานกับ บริษัท Start-up ที่ต้องการหาคนมาคุม Social Media Account ควบคุมงบประมาณของการทำ Online Advertising คงเป็นโอกาสที่ดีอยู่ไม่น้อย เพราะนี่ไม่ใช่แค่เป็นทางออกที่จะช่วยให้เราได้เงินเพิ่มโดยที่ไม่ต้องกระทบตารางเวลามากนักต่อการทำงานในอาชีพปัจจุบันของเรา ยังเป็นหนทางที่จะได้ทำในสิ่งที่ชอบอีกด้วย และนี่จึงเป็นจุดที่ความสามารถที่พิเศษของเราจะเริ่มสร้างรายได้อีกเส้นทางหนึ่งให้เราได้

จากบทความของ Forbes ยังเห็นด้วยอีกว่าการที่เรามีความสนใจที่จะมีมากกว่าหนึ่งอาชีพนั้น จะทำให้เรามีจุดแข็งและโอกาสมากขึ้นในสายตาของนายจ้างอย่างมากเลยทีเดียว! เพราะท้ายที่สุดแล้วความสามารถในการที่เราเชื่อมโยงงานอดิเรก สกิล และ ประสบการณ์การทำงานของอาชีพปัจจุบันเข้าด้วยกันนั่นทำให้เห็นถึงศักยภาพ เป็นสัญญาณของการมีวินัยในตนเองสูงอีกด้วย จึงไม่แปลกที่การเป็น Slashies 

ที่มาของ Slash Career 


แนวคิดเรื่อง Slash Career ไม่ได้เป็นเรื่องที่ใหม่อะไรนัก ในปี พ.ศ. 2550 นักข่าวมาร์ซี อัลโบเฮอร์  (Marcy Alboher)  ได้คิดค้นความหมายนี้ขึ้นมาผ่านหนังสือ One Person/Multiple Careers: A New Model for Work/Life Success ซึ่งเธอได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้หลังจากที่ได้ยิน speech ของทนายความแองเจลา วิลเลียมส์ (Angela Williams) ในปี พ.ศ. 2543 ณ ที่การประชุมทนายความสตรี วิลเลียมส์ได้พูดถึงเรื่องราวของประสบการณ์การใช้ชีวิตเป็นรัฐมนตรีนิกายโปรแตสแตนต์ แทนที่เธอจะพูดถึงความสำเร็จในฐานะอัยการ นั่นทำให้อัลโบเฮอร์สนใจที่จะรู้เรื่องราวของทนายความวิลเลียมส์มากขึ้นและหลังจากการประชุม เธอก็ไปติดต่อวิลเลียมส์เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ตั้งแต่วิธีที่ด้านทนายจัดการเพื่อหาเวลาสำหรับสองงาน และจบลงด้วยการที่เธอปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของสองอาชีพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นี่จึงเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ และนิยามของ Slash Career นั่นเอง

ตั้งแต่นั้นมาอาชีพการทำงานแบบ ​Slash ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นทุกปี

มี Slash Career ได้โดยที่ไม่ต้องลาออกจากงานเดิม

ด้วยความที่ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคของ Gig Economy จำนวนผู้ประกอบอาชีพอิสระในตลาดแรงงานมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นายจ้างหลายแห่งได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นี้ด้วย เนื่องจากการจ้างงานฟรีแลนซ์หลายคนไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าประกัน ลาป่วย และทำงานล่วงเวลา เพราะสัญญาการทำงานส่วนใหญ่เป็นงานระยะสั้น และชาวฟรีแลนซ์เองก็ชอบโมเดลเศรษฐกิจนี้เช่นกัน เพราะมันช่วยให้พวกเขาเป็นอิสระและทำงานในหลายโปรเจกต์ได้ในเวลาเดียวกัน 

พวกเราไม่มีใครเกิดมาเพื่อเป็นแค่นักบัญชี นักการตลาด ฯลฯ แค่นั้นหรอก และทักษะ หรืออาชีพอะไรที่จะเป็นที่ต้องการในอีก 10 ปีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคาดเดา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตอันไม่แน่ไม่นอนนี้ เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองและเรียนรู้วิธีที่จะโยกย้ายจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งอย่างได้อย่างเรียบง่ายที่สุด!

อ้างอิง:

Alboher, M. (2022, June 20). One Person Multiple Career. My Read For Change. https://myreadforchange.com/one-person-multiple-career-book-summary-i-growth-over-change/ 

Dresdale, R. (2017, July 27). What Are “Slash” Careers And Why You Need One. Forbes. https://www.forbes.com/sites/rachelritlop/2017/07/27/what-are-slash-careers-why-you-need-one/

เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Highlights: ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง? ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง

Breaking orthodoxies จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..? – มาหัดตั้งคำถามให้องค์กรเติบโตกันเถอะ

Highlights: ด้วยโลกในปัจจุบัน บางบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าปรับตามให้ทันยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากพวกเขาให้ความสำคัญกับการรักษาตำแหน่งทางการตลาดในปัจจุบัน และขอแค่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มีอยู่มากกว่าที่จะคว้านหาการสร้างโอกาสใหม่ และด้วยสาเหตุนี้เอง ที่มักจะทำให้พวกเขาต้องถึงทางตันในการทำธุรกิจ ดังนั้น ทางออกแบบไหนกันที่จะทำให้องค์กรที่ไม่กล้าเสี่ยงแบบนี้เติบโตได้? รู้จัก Breaking Orthodoxies (การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ) การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ การท้าทายและตั้งคำถามถึงวิธีการทำสิ่งต่างๆ แบบเดิมๆ ออร์ทอดอกซ์เป็นข้อสันนิษฐาน หรือความเชื่อที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นจริงในอุตสาหกรรม ตลาด

รู้จัก ‘Penguin Effect’ จากคนธรรมดาพัฒนาเป็นเพนกวินผู้กล้า!

Highlight: ที่มาที่ไปของ Penguin Effectเพนกวินเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพฤติกรรมน่าสนใจ และทำให้เราขมวดคิ้วอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ‘Penguin Effect’ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ! นกเพนกวินแม้ในขณะที่หิวโหยยังสามารถยืนท้าลมหนาวเป็นเวลานานบนชายฝั่ง หรือแผ่นน้ำแข็งร่วมกับฝูง พร้อมทั้งคอยพยายามผลักและดันตัวที่อยู่ข้างหน้าลงไปในน้ำ ซึ่งสาเหตุมาจากที่พวกมันไม่กล้ารีบเข้าไปเอง เพราะกลัวนักล่าอย่าง แมวน้ำ, สิงโตทะเล ,วาฬเพชฌฆาต หรือ แม้แต่ฉลาม