7 วิธีพักผ่อนที่มากกว่าแค่การนอนหลับ

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • เมื่อพูดถึงการฟื้นฟูตัวเอง ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการนอนหลับเป็นสิ่งแรก แต่จริงๆแล้วนั้น การนอนหลับอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการพักผ่อน
  • ดร. ซอนดรา ดาลทัน สมิธ (Dr. Saundra Dalton-Smith) ได้บรรยายเอาไว้ใน TEDxAtlanta ปี 2019 ว่า การนอนนั้นเป็นเพียงแค่ 1 ใน 7 วิธีของการพักผ่อน

คงจะเป็นปกติที่เราจะมีอาการเหนื่อยล้ามากๆ หลังจากผ่านการใช้ชีวิตประจำวันมาในแต่ละวัน วิธีการพักผ่อนที่เรามักจะนึกถึงเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ก็คงจะหนีไม่พ้นการพยายามนอนหลับให้เต็มอิ่ม หรือนอนให้ได้มากที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าการนอนหลับนั้นไม่ใช่การฟื้นฟูร่างกายที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกนะ

เมื่อการนอนหลับไม่ใช่การพักผ่อนที่ถูกต้องที่สุด

อย่างไรก็ตาม การนอนหลับพักผ่อนก็ไม่ใช่วิธีที่เวิร์คสำหรับทุกคนเสมอไป.. เพราะมีวิจัยจาก Sleep Foundation ออกมาว่า คนไทยโดยเฉลี่ยนั้นมีปัญหาการนอนมากถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ยประมาณ 19 ล้านคนด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงอยู่เหมือนกัน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับนั้นก็มีอยู่มากมาย ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่การนอนหลับจะฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจให้กับทุกคนได้ 

แล้วเราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เพราะอะไร ทำไมบางครั้งหลังจากที่เราตื่นมาจากการนอน ไม่ว่าจะ 7-8 ชั่วโมง หรือการงีบแค่ไม่กี่ 10 นาที ถึงไม่ได้ช่วยรู้สึกว่ามันเพียงพอ?

ดร. ซอนดรา ดาลทัน สมิธ (Dr. Saundra Dalton-Smith) ได้บรรยายเอาไว้ใน TEDxAtlanta ปี 2019 ว่า การนอนนั้นเป็นเพียงแค่ 1 ใน 7 วิธีของการพักผ่อนเท่านั้น โดยดร. ซอนดราได้กล่าวเอาไว้ว่า มนุษย์เรานั้นได้เข้าใจมาเสมอว่าเราได้พักผ่อนจากการนอนเป็นซะส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่เรานอนหลับ หรือแม้แต่แค่เอนตัวลงบนโซฟาดูทีวี ก็สามารถส่งผลให้เรามีภาวะความอ่อนเพลียเรื้อรังได้อีกด้วย

แล้ว.. การพักผ่อนที่แท้จริงคืออะไรกันล่ะ?

การพักผ่อนเป็นการบำบัดทางเลือกที่ปราศจากสารเคมี ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทุกกิจกรรมที่คุณทำ ต้องการพลังงาน และพลังงานส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเพียงทางกายภาพเท่านั้น ซึ่งมนุษย์เราได้เข้าใจผิดเกี่ยวกับการพักผ่อนมาโดยตลอด แถมเรายังมองข้ามวิธีการอื่นๆ ไปอีกด้วย 

รู้จัก 7 วิธีการพักผ่อนที่เหมาะสม:

  1. Physical Rest: การพักผ่อนทางกายภาพ ที่หมายถึงการหยุดพักจากการออกแรงกายนั่นเอง เช่น การพักฟื้นฟูร่างจากการออกกำลังกาย ซึ่งการพักผ่อนทางร่างกายจะทำให้ร่างกายมีโอกาสปลดปล่อยความตึงเครียด และเข้าสู่สภาวะสงบได้ดีเลยทีเดียว
  2. Mental Rest: การพักผ่อนทางจิตใจเกิดจากการที่เราได้ให้โอกาสตัวเองใช้สมองให้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทำงาน หรือเรียน หากเราไม่หาเวลาพักผ่อนคลายเครียดแล้วละก็ อาการ Burnout จะถามหาเราได้ไม่ยาก ดังนั้นการหยุดจ้องคอมพ์ ตอบอีเมลล์ ลุกไปจิบกาแฟ หรือล้างจานสักแว๊บนึงก็ช่วยได้อยู่เหมือนกัน
  3. Social Rest: แม้ว่ามนุษย์เรานั้นจะเป็นสัตว์สังคม แต่การพักผ่อนทางสังคมการห่างจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มากเกินไปก็สามารถช่วยฟื้นฟูอาการเหนื่อยล้าได้เช่นกัน แคน Introvert อย่าได้ดีใจไปนะ เพราะอย่างไรก็ตามหลังจากที่ฮีลตัวเองแล้ว เราก็ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนอื่นด้วย
  4. Creative Rest: ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แม้แต่คนที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มาก เช่น นักดนตรี ศิลปิน หรือนักเขียน ก็ยังต้องการหยุดพักจากการสร้างสรรค์! พวกงาน Creative ทั้งหลายแหล่ ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้นก็ต้องมีเวลาพักจากการพยายามเค้น ”ความสร้างสรรค์” เหมือนกัน เพราะหากไม่มีการพักสมองเลย งานที่ต้องใช้ความครีเอทีฟนั้นมักจะออกมาเป็นรูปเป็นร่างยากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า นี่เป็นสาเหตุที่ทำไมเวลานักดนตรีทั้งหลายถึงใช้เวลาแต่เพลงเป็นปี หรือแม้แต่นักเขียนหนังสือก็เขียนไม่จบสักที..
  5. Emotional Rest: เราสามารถลดภาระความตึงเครียดในจิตใจของพวกเราจากการแชร์อารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง และในการทำเช่นนั้น เราสามารถส่งเสริมสภาพจิตใจที่มีสุขภาพดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น รายการพุธทอล์คพุธโทร ของไทยเรานั่นเอง ที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ระบายความรู้สึกที่ไม่สามารถเล่าให้คนรอบข้างฟังได้ แค่ได้ปลดปล่อยมันออก คนเล่าก็รู้สึกโล่งขึ้นมากแล้วล่ะ
  6. Spiritual Rest: การพักผ่อนจิตวิญญาณนั้นหมายถึงการพึ่งพาอาศัยจิตของตัวเอง ซึ่งการพักผ่อนแบบนี้มีอะไรบ้าง? เช่น ยุบหนอ.. พองหนอ… ใช่แล้ว! คือการทำสมาธินั่นแหละ วิธีการนี้จะสามารถช่วยฟื้นฟูและสร้างจุดโฟกัสให้กับคนที่ทำสมาธิได้เป็นอย่างดี เพราะบางครั้งการปล่อยวาง และไม่คิดอะไรให้รกสมองก็เป็นการผ่อนคลายที่ดีมาก
  7. Sensory Rest: การพักผ่อนของประสาทสัมผัส เช่น แสงไฟหน้าจอโทรศัพท์ หรือแม้แต่มลภาวะทางเสียงเองก็ด้วย โดยสิ่งเหล่านี้นั้นมักจะส่งผลให้การนอนหลับของเรายากขึ้นเป็นพิเศษ อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อสมาธิของเราอีกด้วย ดังนั้นหากเราลองพยายามเข้านอนโดยไม่จับโทรศัพท์ หรือแม้แต่การปิดเสียงการแจ้งเตือนที่รบกวนระหว่างการทำงานก็สามารถช่วยให้เราพักผ่อนจากการรบกวนประสาทสัมผัสได้อีกด้วย

อย่าลืมลองสังเกตตัวเอง และปรับเปลี่ยนวิธีการผ่อนคลายว่าวิธีการพักผ่อนแบบไหนเหมาะกับตัวเรามากที่สุด

อ้างอิง:

Dalton-Smith, S., MD. (2021, January 6). The 7 types of rest that every person needs. Ideas Ted. https://ideas.ted.com/the-7-types-of-rest-that-every-person-needs/ 

TEDx Talks. (2019, April 9). The real reason why we are tired and what to do about it | Saundra Dalton-Smith | TEDxAtlanta [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=ZGNN4EPJzGk 

คุ้มทรงธรรม, ส. (2023, July 7). คุณภาพการนอนหลับ ตอบโจทย์ทุกปัญหาการนอน. MCOT.net. https://www.mcot.net/view/UN1Q5Dnx 

Breaking orthodoxies จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..? – มาหัดตั้งคำถามให้องค์กรเติบโตกันเถอะ

Highlights: ด้วยโลกในปัจจุบัน บางบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าปรับตามให้ทันยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากพวกเขาให้ความสำคัญกับการรักษาตำแหน่งทางการตลาดในปัจจุบัน และขอแค่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มีอยู่มากกว่าที่จะคว้านหาการสร้างโอกาสใหม่ และด้วยสาเหตุนี้เอง ที่มักจะทำให้พวกเขาต้องถึงทางตันในการทำธุรกิจ ดังนั้น ทางออกแบบไหนกันที่จะทำให้องค์กรที่ไม่กล้าเสี่ยงแบบนี้เติบโตได้? รู้จัก Breaking Orthodoxies (การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ) การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ การท้าทายและตั้งคำถามถึงวิธีการทำสิ่งต่างๆ แบบเดิมๆ ออร์ทอดอกซ์เป็นข้อสันนิษฐาน หรือความเชื่อที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นจริงในอุตสาหกรรม ตลาด

รู้จัก ‘Penguin Effect’ จากคนธรรมดาพัฒนาเป็นเพนกวินผู้กล้า!

Highlight: ที่มาที่ไปของ Penguin Effectเพนกวินเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพฤติกรรมน่าสนใจ และทำให้เราขมวดคิ้วอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ‘Penguin Effect’ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ! นกเพนกวินแม้ในขณะที่หิวโหยยังสามารถยืนท้าลมหนาวเป็นเวลานานบนชายฝั่ง หรือแผ่นน้ำแข็งร่วมกับฝูง พร้อมทั้งคอยพยายามผลักและดันตัวที่อยู่ข้างหน้าลงไปในน้ำ ซึ่งสาเหตุมาจากที่พวกมันไม่กล้ารีบเข้าไปเอง เพราะกลัวนักล่าอย่าง แมวน้ำ, สิงโตทะเล ,วาฬเพชฌฆาต หรือ แม้แต่ฉลาม

‘ลาหยุด’ อย่างไรให้ดีต่อใจและการงาน?!

Highlights: ในวันหยุดพักผ่อน ไม่ว่าใครก็สามารถหลีกหนีจากความเครียดและตัดขาดจากการทำงานได้ด้วยการลาพักร้อน ซึ่งการลาหยุดนี้ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าข้อดีที่แท้จริงของการลาพักจากงานนั้นมีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น: วันหยุดในอุดมคติของพวกเราเพื่อขจัดความเครียด และสภาวะหมดไฟ จากผลสำรวจของ Mercer ใน Linkedin พบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ ของ พนักงานออฟฟิศเลือกที่จะมีวันหยุดแบบไม่มีแผนตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวันลาวันไหน เดือนไหนก็ได้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ปัญหาสภาวะหมดไฟ นอกจากนั้น