Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • Fauxpology คือ รูปแบบของ “การขอโทษ” โดยที่บุคคลที่ขอโทษไม่ได้รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่พวกเขาทำลงไป
  • Fauxpology นั้นเป็นวิธีเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการทำสิ่งเลวร้ายของผู้ที่ทำผิด โดยบางครั้งผู้พูด หรือผู้ที่ทำผิด แสดงการขอโทษออกมาโดยที่ไม่ได้เต็มใจจะขอโทษ แต่สถานการณ์รอบข้างอาจจะบีบบังคับให้ทำ

“ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ”

เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย?

อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย น้ำเสียง และใบหน้าของผู้ที่กำลังขอโทษเราได้อย่างง่ายดาย

Fauxpology คือ รูปแบบของ “การขอโทษ” โดยที่บุคคลที่ขอโทษไม่ได้รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่พวกเขาทำลงไป

ดร.วิกตอเรีย เอสแคนเดลล์ วิดัล (dr. Victoria Escandell Vidal) อาจารย์ Linguistic ที่มหาวิทยาลัยคอมพลูเทนเซ่ ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้อธิบายเอาไว้ว่า Fauxpology นั้นเป็นวิธีเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการทำสิ่งเลวร้ายของผู้ที่ทำผิด โดยบางครั้งผู้พูด หรือผู้ที่ทำผิด แสดงการขอโทษออกมาโดยที่ไม่ได้เต็มใจจะขอโทษ แต่สถานการณ์รอบข้างอาจจะบีบบังคับให้ทำ คำพูดของพวกเขาในตอนแรกอาจดูเหมือนเป็นการขอโทษ แต่หากเราพยายามคิดตามคำพูดพวกนี้ สำหรับหลายคน หากฟังครั้งแรกอาจจะเป็นอะไรที่ยอมรับได้ แต่ลึกๆ ก็ยังมีอะไรบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากลอยู่ดี.. 

อย่างไรก็ตาม Fauxology อาจจะไม่ได้หมายถึงคำแค่พูด แต่รวมไปถึง กิริยา อาการของผู้ที่ทำผิดไม่ยอมแสดงความสำนึกผิดให้กับผู้ที่ควรได้รับคำขอโทษออกมา โดยคำนี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อเปรียบเปรยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในโลกการเมืองและสื่อ

เพราะเหตุใดรูปแบบ Fauxpology จึงเป็นเรื่องธรรมดาในโลกปัจจุบัน รวมไปถึงวงการสื่อ หรือการเมือง?

หากพูดตรงๆ เมื่อผู้กระทำผิดไม่ได้รู้สึกเสียใจอย่างแท้จริง พวกเขาไม่ต้องการยอมรับโดยตรง แต่ก็ไม่อยากให้เรื่องราวมันยืดเยื้อไปเรื่อยๆ อีกหนึ่งนัยยะ เซเลบริตี้ หรือนักการเมืองทั้งหลายก็กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา มากไปกว่านั้นก็อาจเป็นเพราะกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น เวลาบุคคลที่มีชื่อเสียงมีข่าวเสียหาย มักจะออกมาแถลงขอโทษ 

อย่างในกรณีของ ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein) อดีตเจ้าพ่อใหญ่แห่งวงการหนังฮอลลีวู้ดชื่อดัง ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณะชนต่อเรื่องอื้อฉาวที่เขากระทำ Sexual Harrassment ต่อนักแสดงสาวทั้งหลายนั้น โดยเขาอ้างว่าในยุค 60 ถึง 70 ที่เขาเป็นวัยรุ่นนั้น เป็นยุคที่กฎเกณฑ์และวัฒนธรรมทั้งหมดแตกต่างกับปัจจุบัน และเขาก็แก่เกินกว่าที่จะเข้าใจมัน ซึ่งอ่านแค่นี้ก็แทบจะเห็นไดเลยว่า นั่นเป็นการขอโทษที่แทบจะไม่แสดงความรับผิดชอบอะไรเลย

ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการแสดงอาการขอโทษแบบนี้ไม่ใช่เพื่อชดใช้ให้ผู้เสียหาย แต่เพื่อพยายามลดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของตัวเองต่างหาก

อย่างนั้นแล้ว ควรขอโทษอย่างไร เพื่อให้ดูจริงใจมากที่สุด?

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากขนาดไหน เราไม่สามารถเสแสร้งได้หรอก ถ้าเราไม่ได้เสียใจ และรู้สึกขอโทษจริงๆ เพราะนอกจากจะต้องขอโทษแล้ว เรายังต้องเตรียมพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองอีกด้วย การขอโทษที่ดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายที่รู้ว่าทำผิดนั้น จะยอมรับและแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน

ดังนั้นการขอโทษที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดที่สวยหรู แต่เป็นคำพูดที่ออกมาจากใจของตัวเอง โดยตราบใดที่เราหมายความตามนั้น คำขอโทษที่จริงใจก็จะมีความหมาย และผู้ฟังก็จะรับรู้ได้ถึงความตั้งใจที่จะแสดงความรับผิดชอบนั้นของเรา

อ้างอิง:

7 Times Powerful People Gave Pathetic Apologies For Their Bad Behavior. The Establishment. https://theestablishment.co/7-times-powerful-people-gave-pathetic-apologies-for-their-bad-behavior-8b45f7b77ed0/index.html 
Serrano, B. (2022, April 2). Sorry not sorry: Will Smith and the art of the ‘fauxpology.’ EL PAÍS English. https://english.elpais.com/culture/2022-04-02/sorry-not-sorry-will-smith-and-the-art-of-the-fauxpology.html

อัปสกิลที่มีอยู่ สู่งานใหม่ที่ดีกว่า ด้วย Transferable Skills

Highlights: ปัจจุบันการทำงานให้ตรงสายกับที่เรียนมานั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างที่จะท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะบางสายงาน เช่น งาน Adminstrative ทั่วไป หรือสาย Creative นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนรักและถนัด แต่ด้วยฐานความต้องการของสายอาชีพพวกนี้อาจจะไม่ได้มีความต้องการในตลาดมากเท่ากับพวกสายอาชีพเฉพาะ อย่างวิศวกร หรือเทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน หางานยากขึ้น ยิ่งบางอาชีพนั้นเงินค่าจ้างที่ได้ก็คงไม่ได้มากมายเท่าไร.. การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศได้ไตร่ตรองเส้นทางอาชีพของตน มองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและอาชีพมากขึ้น คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนในตอนนี้กำลังหาลู่ทางที่จะเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเอง เพราะฉะนั้นการโยกย้ายเปลี่ยนงานจึงอาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ

เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Highlights: ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง? ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง