4 วิธีสร้าง productivity ด้วยตัวเอง ส่งตรงจากมือถือ

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • การเลื่อนดูสมาร์ทโฟนไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายมักจะเกิดขึ้นกับพวกเราในยุคนี้ได้อย่างง่ายดาย
  • การไถหน้าจอไปเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการที่เราไม่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการใช้มือถือ
  • โทรศัพท์ของเราน้ันมีสิ่งที่น่าสนใจ และสามารถสร้าง productivity และอัปสกิลต่อตนเองได้
  • Mydemy ได้รวบรวมแอปพลิเคชั่นและเคล็ดลับที่น่าสนใจที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสมาร์ทโฟนของเราให้มีเพิ่มประสิทธิภาพต่อเรามากขึ้น

โดยปกติแล้วคนเรามักจะเริ่มหยิบเอาสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาในยามที่ไม่รู้จะทำอะไร หรือบางทีการเล่นโทรศัพท์มือถืออาจจะเกิดขึ้นจากการที่เรากำลังพยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากข่าวสารที่ตึงเครียด หรืออยากหนีจากความวุ่นวายรอบๆตัว และด้วยสาเหตุพวกนี้แหละ มันมักจะเริ่มต้นด้วยการที่เราเลื่อนโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ พอรู้ตัวอีกทีมันก็กินเวลาไปมากแล้ว

การไถหน้าจอไปเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการที่เราไม่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการใช้มือถือ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เวลาของเราซะเลย

ด้วยสาเหตุพวกนี้แหละส่งผลให้การเลื่อนดูสมาร์ทโฟนไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายมักจะเกิดขึ้นกับพวกเราในยุคนี้ได้อย่างง่ายดาย

แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ใครว่าเราไม่สามารถสร้าง productivity จากสมาร์ทโฟนของพวกเราเองได้?

จริงๆแล้ว สมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันมันมีประโชน์มากกว่าที่เราคิดซะอีก เพราะในโทรศัพท์ของเรายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย และสามารถสร้าง productivity และอัปสกิลต่อตนเองได้

ในบทความนี้ Mydemy ได้รวบรวมแอปพลิเคชั่นและเคล็ดลับที่น่าสนใจที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสมาร์ทโฟนของเราให้มีเพิ่มประสิทธิภาพต่อเรามากขึ้น

  1. ฝึกฟัง Podcast ให้เป็นนิสัย: การฟัง podcast เป็นอะไรที่หลายๆ คนน่าจะรู้อยู่แล้วแหละว่าเป็นสิ่งที่ดีขนาดไหน เพราะการค่อยๆ ฟัง podcast ในยามที่ว่าง เป็นเหมือนการซึมซับความรู้จากการที่เราได้ยิน
  2. เรียนภาษาใหม่ๆไม่น่าเบื่อ ใน Duolingo: อีกวิธีที่น่าสนใจ คือการฝึกภาษาใหม่ๆ เพราะมันมีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเพิ่มโอกาสในการทำงานได้มากขึ้นอีกด้วย Duolingo เป็นแอปกึ่งเรียนกึ่งเล่นเกม แต่จริงๆแล้วแอปนี้ให้ฟีลเหมือนการเล่นเกมมากกว่ากว่าเรียนซะอีก! ใครที่ขี้เบื่อ และชอบชาเลนจ์ตัวเอง และอยากฝึกภาษาไปไหนตัว แอปนี้จึงเหมาะมากๆ เพราะคุณจะได้ทั้งความรู้ และคลายเบื่ออีกด้วย
  3. Coding ในสมาร์ทโฟนด้วย Mimo: ถ้าเทียบกับแอป Duolingo นี่ก็คงจะเป็นแอปที่คล้ายๆ กัน แค่เปลี่ยนจากเรียน Human language มาเป็น computer langugage อาจจะไม่สามารถเรียนได้ลึกเท่ากับการเรียนเป็นคอร์ส หรือเรียนบนคอมพิวเตอร์ และถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้เป็น programmer/developer แต่การเรียนรู้การเขียน code จะช่วยให้เรา เข้าใจวิธีการทำงานของเทคโนโลยีได้ดีขึ้น  และยังถือว่าเป็นการอัปสกิลไปในตัวอีกต้วย

แต่ถ้าหากเราไม่มีเวลา หรืออยู่ข้างนาอก แค่เปลี่ยนวิธีการเรียน ก็ทำให้น่าสนใจชึ้นเยอะถูกมั้ย? นอกจากนั้นแล้ว แอปนี้ยังเหมือนกับการเล่น quiz ไขปริศนา จึงยิ่งทำให้การฝึก coding ของเราสนุกขึ้นอีกด้วย

  1. บันทึกในแต่ละวันของเราด้วย แอปเขียน Journall: หากเทียบกับการเขียน journal ลงบนสมุด หรือ ipad การเขียนบันทึกลงในโทรศัพท์อาจจะไม่สามารถเขียนได้เยอะมาก แต่ก็เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เหมือนกัน เพราะการจดบันทึกประจำวัน ช่วยให้เรา reflect ว่าในแต่ละวันเราทำอะไรไปบ้าง มีอะไรที่ต้องแก้ไข และมีอะไรที่เราอยากจะทำในวันต่อไป

แม้ว่าเรามักจะตำหนิเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดความฟุ้งซ่านและลดประสิทธิภาพการทำงาน แต่จริงๆ แล้วมันก็ส่งผลถึงวิธีการใช้งานของคุณ เมื่อคุณสร้างนิสัยในการใช้โทรศัพท์โดยมีเป้าหมายเฉพาะแล้ว คุณจะประหลาดใจกับประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น

อ้างอิง:

Loic, L. (2022, June 26). 7 Productive things to do on your phone instead of mindlessly scrolling. MUO. https://www.makeuseof.com/productive-things-to-do-phone/ 

The Todoist Team. 7 Easy Hacks That Turn Your Smartphone into the Ultimate Productivity Tool. Ambition & Balance by the doist. https://blog.doist.com/7-easy-hacks-that-turn-your-smartphone-into-the-ultimate-productivity-tool/ 

5 อาชีพไหน ที่ A.I. จะยังมาแทนที่มนุษย์ไม่ได้!

อย่างที่ทราบกันดีในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และ A.I. ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะและบทบาทของงานแทบจะทุกสายงาน ระบบ A.I. สามารถประมวลผลข้อมูลนับล้านภายในไม่กี่วินาที กลับกันถ้าเป็นมนุษย์ ก็คงใช้เวลานานกว่ามาก  ระบบอัตโนมัติและ A.I. กำลังกระตุ้นการปฏิวัติครั้งใหม่ตั้งแต่ไอทีไปจนถึงการผลิต ทำให้ความต้องการในตลาดแรงงานนั้นลดน้อยลงในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเทรนด์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้คนกังวลเรื่องความมั่นคงในงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าสกิลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นสกิลที่มีความต้องการสูงมากในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะอาชีพที่ยังต้องการมนุษย์นั้นจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า

อัปสกิลที่มีอยู่ สู่งานใหม่ที่ดีกว่า ด้วย Transferable Skills

Highlights: ปัจจุบันการทำงานให้ตรงสายกับที่เรียนมานั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างที่จะท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะบางสายงาน เช่น งาน Adminstrative ทั่วไป หรือสาย Creative นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนรักและถนัด แต่ด้วยฐานความต้องการของสายอาชีพพวกนี้อาจจะไม่ได้มีความต้องการในตลาดมากเท่ากับพวกสายอาชีพเฉพาะ อย่างวิศวกร หรือเทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน หางานยากขึ้น ยิ่งบางอาชีพนั้นเงินค่าจ้างที่ได้ก็คงไม่ได้มากมายเท่าไร.. การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศได้ไตร่ตรองเส้นทางอาชีพของตน มองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและอาชีพมากขึ้น คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนในตอนนี้กำลังหาลู่ทางที่จะเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเอง เพราะฉะนั้นการโยกย้ายเปลี่ยนงานจึงอาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ