เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง
  • Soft skills ที่เราเคยได้ยินคุ้นหูกันดี กำลังค่อยๆแปลเปลี่ยนมาเป็น “ทักษะด้านพลัง” (Power Skills) ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ “มีขีดความสามารถ” มากกว่า

ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย

Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง?

ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง ซอฟท์ สกิล (Soft Skills) ซึ่งซอฟท์ สกิลนั้นหมายถึง ทักษะทางอารมณ์ทั้งหมดที่จะสามารถช่วยให้เราตัดสินใจได้ มีความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ หรือสื่อสารกับสภาพแวดล้อมของเราได้ดีมากขึ้น และยังเผชิญกับปัญหาได้อย่างไร้กังวล สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิธีคิดและการกระทำของเรา ซึ่งแน่นอนว่า ตรงกันข้ามกับ Hard Skills ซึ่งเป็นสกิลที่ได้มาจากการฝึก หรือเรียนรู้ทางเทคนิคเฉพาะด้าน อย่างเช่น การเรียนรู้โปรแกรมต่างๆ

ในทักษะที่องค์กรมุ่งหมายให้พนักงานของตนมี มักจะหมายถึง ภาวะของการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และ Work-life balance โดยสิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในที่ทำงาน และถือว่าเป็น Soft Skills ที่สำคัญอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดแบบเก่าของซอฟท์ สกิลนั้น กำลังค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วย “Power Skills”

ทำไมต้องเปลี่ยนจาก Soft Skills มาเป็น Power Skills ?

หากย้อนไปตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 เมื่อสองปีที่แล้ว ส่งผลให้ความต้องการของสถานที่ทำงาน และข้อกำหนดต่อผู้มี Soft Skills เหล่านี้ได้เปลี่ยนไปแทบจะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปรับให้เข้ากับโหมด Work from home หรือแบบ Hybrid การสร้าง Workplace ที่มีความหลากหลายและครอบคลุมมากขึ้นนั้น ถือว่าเป็นอะไรที่ทั้งพนักงานและองกร์ต่างยอมรับและคาดหวังมากขึ้นในปัจจุบัน

และความเป็นจริงนี้ส่งผลกระทบอย่างจริงจังต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน การปรับสภาพให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในที่ทำงานแบบนี้ ถือว่าเป็นความท้าทายที่น่าสนใจเหมือนกัน

Soft skills ที่เราเคยได้ยินคุ้นหูกันดี กำลังค่อยๆแปลเปลี่ยนมาเป็น “ทักษะด้านพลัง” (Power Skills) ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ “มีขีดความสามารถ” มากกว่า

จากผลการรายงานเรื่อง “2022 Workplace Learning Trends” ของ Udemy Business ได้มีการพูดถึง Power Skills เอาไว้เพื่อเน้นให้เราเข้าใจความสำคัญอย่าง ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม รวมไปถึงความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ หรือพูดง่ายๆ พวกทักษะที่เราเรียกกันว่า Soft Skills กันนั่นแหละ ว่าจริงๆแล้วนั้นทักษะเหล่านี้ไม่ควรที่จะถูกขนานนามว่า “ซอฟท์” อีกต่อไปแล้ว

ในท่ามกลางสภาวะที่ท้าทายแบบนี้ ไม่แปลกเลยที่ Power Skills จะถือเป็นคีย์สำคัญในการพิสูจน์ความสามารถของทุกคนในองค์กร

รู้จัก 4 ตัวอย่างของ Power Skills ที่เป็นที่ต้องการในองค์กร

  • Leadership: ยกตัวอย่างง่ายๆ ตั้งแต่มีโควิด-19 ทุกคนก็คงทราบกันดีว่า มันได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานขนาดไหน นั่นจึงทำให้การพัฒนาความเป็นผู้นำจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทแทบทุกแห่ง เนื่องจากทุกที่นั้นต้องการผู้นำที่มีความสามารถเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์หัวหอก และแรงจูงใจให้กับทีมของตัวเอง
  • Emotional Intelligence: ความฉลาดทางอารมณ์คือความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ จัดการ และแสดงอารมณ์ ยิ่งความฉลาดทางอารมณ์ของเราพัฒนามากเท่าไหน การพัฒนาทางสังคมของเราก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น! ด้วยความฉลาดทางอารมณ์นี่แหละ เราจะสามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากที่สุดได้ด้วยจากการที่เข้าใจอารมณ์ของตัวเอง จะทำให้เรามองเห็นสถานการณ์จากมุมมองต่างๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
  • Communications: จริงอยู่ที่การสื่อสารเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์อย่างเราๆ แต่ความสามารถในการสื่อสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเมื่อเราต้องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย และมีประสิทธิผลในที่ทำงาน หรือพูดอย่างง่ายๆ ปัญหาส่วนใหญ่ภายในองค์กรนั้นจะสามารถแก้ไขได้ด้วยการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายและโปร่งใส
  • Adaptibility: ทักษะนี้ถือว่าสำคัญอย่างมาก ยิ่งในตอนนี้ที่โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราในตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในหลายๆ องค์กร

นอกจากนี้ยังมี Power Skills อีกหลายด้านที่รอให้ทุกคนไปทำความรู้จัก และเสริมสร้างทักษะด้วยตัวเอง ดังนั้นอย่าลืมไปลองฝึกกันดูล่ะ

อ้างอิง:

The Extraordinary Business Book Club. (2022). 2022 Workplace Learning Trends Report.
http://extraordinarybusinessbooks.com/episode-154-upskilling-with-chris-watson/ https://business.udemy.com/2022-workplace-learning-trends-report/?utm_source=paid-social&utm_medium=linkedin&utm_campaign=NA-HR-Job-Titles&utm_content=li-display&utm_term=hr&utm_region=na&li_fat_id=1e101fbe-ce70-4d06-b241-20f89988a130 

Runyon, N. (2022, February 18). Why “power skills” is the new term for soft skills in the hybrid work world. Thomson Reuters Institute. https://www.thomsonreuters.com/en-us/posts/legal/power-skills-rebranding/ 

7 วิธีพักผ่อนที่มากกว่าแค่การนอนหลับ

Highlights: คงจะเป็นปกติที่เราจะมีอาการเหนื่อยล้ามากๆ หลังจากผ่านการใช้ชีวิตประจำวันมาในแต่ละวัน วิธีการพักผ่อนที่เรามักจะนึกถึงเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ก็คงจะหนีไม่พ้นการพยายามนอนหลับให้เต็มอิ่ม หรือนอนให้ได้มากที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าการนอนหลับนั้นไม่ใช่การฟื้นฟูร่างกายที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกนะ เมื่อการนอนหลับไม่ใช่การพักผ่อนที่ถูกต้องที่สุด อย่างไรก็ตาม การนอนหลับพักผ่อนก็ไม่ใช่วิธีที่เวิร์คสำหรับทุกคนเสมอไป.. เพราะมีวิจัยจาก Sleep Foundation ออกมาว่า คนไทยโดยเฉลี่ยนั้นมีปัญหาการนอนมากถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ยประมาณ 19 ล้านคนด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงอยู่เหมือนกัน

Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Highlights: “ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ” เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย? อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย

ใช้ Design Thinking ในชีวิตประจำวัน… ยังไงนะ?

Highlights: Design Thinking คืออะไร? Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่ผสมผสานตรรกะ สัญชาตญาณ และการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เราก็สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี แก้ได้ถูกจุด และเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ผ่าน 5