คุ้มรึเปล่า.. ถ้าอยากมีปริญญาตรีเพิ่มอีกใบ?

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • ปริญญาตรีใบที่สอง คือ หนทางที่จะช่วยส่งเสริมให้หลายคนได้เรียนรู้หาความรู้ที่ตัวเองสนใจเพิ่มเติม รวมไปถึงการอัพเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง และที่สำคัญจะช่วยสร้าง ‘Career Path’ ให้ถูกเส้นทางกับคนที่เคยเรียนจบไม่ตรงสายกับอาชีพที่ตัวเองกำลังทำอยู่

จากวิจัยในปี พ.ศ. 2561 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้พบว่า ในประเทศไทย ร้อยละ 60 คนทำงานนั้นทำงานไม่ตรงกับสายที่เรียนจบมาโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นมีทางไหนบ้างที่จะทำให้คนจำนวนเหล่านี้ได้ทำอาชีพที่คาดหวังไว้

ไม่ว่าเรากำลังพิจารณามองหาอาชีพที่เสริม ตำแหน่ง หน้าที่การงานใหม่ หรือแม้แต่การเลื่อนตำแหน่งกับที่ทำงานปัจจุบันของเราเองก็ตาม การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจะสามารถเสริมสร้างความมุ่งมั่นของเราในการเติบโตทางอาชีพที่เราฝันถึงได้อย่างแน่นอน

ความแตกต่างระหว่างปริญญาตรีใบที่ 2 กับปริญญาโท
การเรียนต่อปริญญาโทนป็นการศึกษาต่อเนื่องในระดับพิเศษที่สูงกว่าปริญญาตรีหนึ่งขั้น แต่การเลือกปริญญาตรีสาขาที่สองนับว่าเป็นการช่วยให้เราได้ปูพื้นฐานความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองไปสู่อาชีพที่เราสนใจได้จริงๆ

แม้ว่าระยะเวลาในการเรียนหลักสูตรการเรียนปริญญาโทส่วนใหญ่จะมีระหว่าง 1-2 ปี แต่ ก็เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างหนักพอสมควร เพราะเนื้อหานั้นค่อนข้างที่จะเข้มข้นกว่า ใครที่ไม่มีพื้นฐานในสาขานั้นมาก่อนอาจจะต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มเติมมากกว่าคนอื่น และส่วนใหญ่ต้องให้เวลากับการทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์มากกว่าการเรียนระดับปริญญาตรี

หากใครกำลังฝันอยากจะทำงานในสายที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ และแถมยังถือวุฒิปริญญาตรีอยู่ด้วย การันตีได้เลยว่าการเรียนปริญญาตรีใหม่อีกใบเพิ่ม ก็สามารถทำได้ ไม่แพ้ไปกว่าการเรียนปริญญาโทอีกด้วย และยังช่วยอัปสกิลให้เราปูทางไปกับอาชีพที่ฝันไว้อีกด้วย

ข้อดีว่าทำไมเราควรเลือกเรียนระดับปริญญาตรีอีกครั้ง?

การตัดสินใจที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีใบที่สองนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายของเราในอนาคตและสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นเรามาดูเหตุผลของการเรียนต่อเพื่อได้ใบปริญญาตรีที่สองกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง?

  • ช่วยให้ทำตามเป้าหมายในอาชีพได้ง่ายขึ้น: ไม่ว่าเป้าหมายในอาชีพของเราจะเป็นเช่นไร การได้รับปริญญาตรีใบที่สองจะช่วยให้เรามีโอกาสเริ่มต้นอาชีพใหม่หรือแม้แต่ก้าวหน้าในอาชีพปัจจุบันของเราไปอีกขั้น ตัวอย่างเช่น แม้เราอาจจะมีประสบการณ์ทางด้านการตลาด แต่หากปริญญาตรีใบแรกจบมาจากสาขากฏหมาย ก็ใช่ว่าเราบริษัทจะรับเราไปพิจารณาเป็นคนแรกๆ หากเรากำลังเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่ต้องการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นภายในปีหน้า ปริญญาตรีใบที่สองนั้นจะช่วยทำให้เรามีสิทธิ์ได้รับการเลื่อนตำแหน่งได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้ได้งานง่ายขึ้น หลังจากกลับมาลงสนามหางานใหม่: ไม่ว่าจะเป็นผลจากการว่างงานมาเป็นเวลานาน หรือเป็นกลยุทธ์ในการอัปสกิลของเราเอง ปริญญาใบที่สองสามารถทำให้เรามีข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับ Job Hunter คนอื่นได้ ตัวอย่างเช่น หากเราเคยเรียนจบปริญญาตรีสาขาการสื่อสารเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และอยากหางานสาย Data Analyst ทำในอนาคต ดังนั้นปริญญาตรีสาขาที่สองในสาขา Computer Science ก็จะสามารถรักษาความรู้และความสามารถของเราให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • แก้ไขสถานการณ์ทางการเงิน: บางครั้งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการหาอาชีพใหม่ จากบทวิจัยเดิมได้พบว่า คนที่ทำงานไม่ตรงสายส่วนใหญ่นั้นได้รับผลกระทบจากค่าจ้างอันน้อยนิด อย่าลืมว่านายจ้างบางรายอาจให้ความสำคัญกับการศึกษาของเรามากกว่าประสบการณ์ ดังนั้นการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ตรงกับสายงานอีกครั้งจะสามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้น หรือได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้มีกำไรมากขึ้น

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การเรียนต่อปริญญาโทอาจเป็นตัวเลือกแรกสำหรับหลายคนที่ต้องการกลับไปเรียนต่อ ในทางตรงกันข้ามการเลือกเรียนต่อปริญญาตรีใบที่สองก็ถือเป็นโอกาสที่ดีโดยเฉพาะกับคนที่ต้องการเพิ่มพูนชุดทักษะ หรือเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเองที่ต้องการอีกเช่นกัน

อ้างอิง:

Aksornneam, P. (2018, May 4). สํารวจพบคนอายุน้อยทํางานไม่ตรงสายกว่า 60%. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/economy/news_941499 

Birt, J. (2023). 6 Reasons To Consider Getting a Second Bachelor’s Degree. Indeed. https://www.indeed.com/career-advice/career-development/getting-second-bachelors-degree 
Meredith College. (2022, March 23). 3 reasons you should consider a second bachelor’s Degree – Meredith College. https://www.meredith.edu/admissions-blog/3-reasons-you-should-consider-a-second-bachelors-degree/

‘ลาหยุด’ อย่างไรให้ดีต่อใจและการงาน?!

Highlights: ในวันหยุดพักผ่อน ไม่ว่าใครก็สามารถหลีกหนีจากความเครียดและตัดขาดจากการทำงานได้ด้วยการลาพักร้อน ซึ่งการลาหยุดนี้ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าข้อดีที่แท้จริงของการลาพักจากงานนั้นมีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น: วันหยุดในอุดมคติของพวกเราเพื่อขจัดความเครียด และสภาวะหมดไฟ จากผลสำรวจของ Mercer ใน Linkedin พบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ ของ พนักงานออฟฟิศเลือกที่จะมีวันหยุดแบบไม่มีแผนตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวันลาวันไหน เดือนไหนก็ได้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ปัญหาสภาวะหมดไฟ นอกจากนั้น

ใครบอกกันล่ะ ว่าเป็น Introverts แล้วจะต้องเป็นลูกน้องเสมอไป

Highlights: มนุษย์บนโลกมีตั้งกี่พันล้านคน จึงไม่แปลกที่ความหลากหลายทางกายภาพ ลักษณะนิสัย และบุกคลิกภาพจึงมีอยู่แตกต่างออกไปมากมาย..  การเป็น Introvert ก็ไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติอะไร เพียงแต่เป็นลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นพรสวรรค์ก็ได้ ใครจะรู้ล่ะ? ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ Introvert คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะขี้อาย ต่อต้านสังคม และหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงพวกเขาแค่ชอบการอยู่กับตัวเองมากกว่าก็เท่านั้นเอง โดยส่วนมาก Introvert

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์: ประเทศไทยเริ่มแล้วหรือยัง?

Highlight: “หากคุณดูผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการทำงาน เรามักจะให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานมากเกินไป อันที่จริงการทำงานจากระยะไกลและแบบผสมผสานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถขจัดความเหนื่อยหน่ายและการทำงานหนักเกินไปได้”  – โจ โอคอนเนอร์ (Joe O’Connor)  กรรมการบริหารของ 4 Day Week Global เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565