บ่น บ่น บ่น! มาเช็คดูว่า Chronic Complainer อาการมันเป็นยังไงนะ!?

Share on facebook
Share on twitter

Highlight: 

  • ทุกครั้งหลังเลิกงาน หรือเสร็จภารกิจชีวิตประจำวัน มนุษย์เรามักจะกักเก็บความเครียดติดตัวมาอยู่เสมอ บ่อยครั้งเองที่ในแต่ละวันเราอาจรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดาที่จะกลับบ้านมาระบายความคับข้องใจต่อคนใกล้ตัวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น
  • หากตัวเราหรือคนรอบข้างมีอาการเหล่านั้นนั่นหมายถึง เราอาจจะกำลังเป็น Chronic Complainer อยู่ก็ได้

จริงอยู่หรอกที่การบ่นเป็นเรื่องปกติ เราบ่นเพื่อแสดงความรู้สึกไม่สบายที่อาจจะมีอยู่ภายในใจเป็นหมื่นล้านคำออกไป ส่วนใหญ่มักจะพูดแต่เรื่องที่ทำให้หัวเสียมาตลอดทั้งวัน หรืออัดอั้นเอามากๆ เพราะเชื่อว่าจะรู้สึกดีขึ้นหลังจากที่ได้ระบายมันออกไป แต่หารู้ไม่ว่าการบ่นจนติดเป็นนิสัยซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้นอาจทำให้ชีวิตของเราเป็นทุกข์และมีแต่ความคิดด้านลบออกมาต่างหาก

การบ่นบ่อยๆ เป็นประจำไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยให้ระบายคลายทุกข์ได้ แต่ดันทำให้สภาพจิตใจแย่กว่าเดิม ซึ่งส่งผลให้คนเหล่านี้กลายเป็นคนขี้บ่น ซึ่งมีอาการที่เรียกว่า ‘Chronic Complainer’

Chronic complainer คือ นิยามที่เรียกคนที่ชอบบ่นขิงบ่นข่าเป็นประจำ คนกลุ่มนี้มักแสดงความไม่พอใจต่อองค์ประกอบต่างๆ ในชีวิตของพวกเขา ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักไม่มีความสุขกับตัวเอง หรือสภาพแวดล้อมเอาซะเลย

นอกนั้นพวกเราบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังมีคนอาการบ่นเรื้อรังอยู่ใกล้ตัว หรือเป็นเราเองรึเปล่าที่ก็เป็นคนขี้บ่นอยู่กันแน่

สัญญาณอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าเราหรือคนรอบข้างกำลังมีอากรบ่นเรื้อรังอยู่?

  • ไม่ได้ถูกรายล้อมไปด้วยคนที่คิดบวก: เพราะเราไม่ได้อยู่ในโลกของละครหรอกนะที่การเป็นคนคิดลบ อารมณ์ไม่ดีอยู่บ่อยๆ จะดึงดูดผู้คนเข้ามาหาในชีวิต ดังนั้นคนที่ชอบบ่นตลอดเวลาแทบจะไม่สามารถดึงคนที่มีทัศนคติคิดบวกเข้ามาได้ง่ายๆ อยากรู้ว่าใครเป็นคนชอบบ่นบ่อยๆ ให้ลองดูสังเกตดูว่าเขาอยู่กับคนประเภทไหนบ้าง
  • มีความเป็น Perfectionist สูงปรี๊ด: คนที่มีมองโลกในแง่ลบและแทบจะไม่เคยเห็นด้วยกับคนอื่นเลยมักจะเป็นพวกที่ชอบความสมบูรณ์แบบ คนเหล่านี้เห็นอะไรก็ไม่ดี ไม่ใช่ ไม่เคยเห็นด้วยกับใครและพยายามจะสื่อให้คนอื่นรู้ตลอดเวลาว่าฉันรู้ดีกว่า และฉันถูกเสมอ! ผ่านการกระทำและคำพูดของตัวเองตลอดเวลา
  • โฟกัสที่อุปสรรคมากเกินไป: อาการนี้อาจจะคล้ายกับความเป็นคน Perfectionist แต่สิ่งนี้คือการที่คนประเภทนี้ชอบจดจ่ออยู่กับข้อผิดพลาดอยู่เสมอ มองแต่เรื่องแย่ๆ แม้ว่าบางครั้งอาจจะมีเรื่องที่ดีเกิดขึ้นก็ตาม แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ คนเหล่านี่ก็จะจดจ่อกับมันมากเกินไปและบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่รู้จักจบจักสิ้น
  • ไม่มีความสุขกับชีวิตเอาซะเลย: เหตุก็เพราะอาการที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งส่งผลให้คนประเภทนี้มักจะไม่มีความสุข หรือเอนจอยกับอะไรเลย เพราะมัวแต่สนใจเรื่องไม่ดี จนลืมหาความสุขใส่ตัว 

พอเรารู้วิธีสังเกต Chronic Complainer แล้ว ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าเคล็ดลับไหนจะช่วยให้หตัวเราเอง หรือคนรอบข้างยุดจากอาการบ่นจุกจิกนี้สักที

  • อย่าไปพยายามโน้มน้าวหรือไปเปลี่ยนใจเขา: เมื่อคนๆหนึ่งไม่มีอะไรจะพูดนอกจากการบ่น หากมองในแง่บวก พวกเขาเหล่านี้อาจกำลังต่อสู้กับความคิดในแง่ลบของตัวเองอยู่ก็เป็นได้ ฉะนั้นบางครั้งพวกเขาเพียงแค่ต้องการรู้ว่ามีคนเข้าอกเข้าใจว่าตอนนี้เขากำลังแย่ ดังนั้นจะดีที่สุดสำหรับเราทั้งสองฝ่ายหากเราไม่พยายามไปเปลี่ยนความคิดให้พวกเขาคิดในแง่ดีมากขึ้น อย่าไปโต้เถียง ให้ลองพยายามที่จะเข้าอกเข้าใจพวกเขาเหล่านี้ ลองคิดดูสิว่า มันอาจจะช่วยประหยัดเวลาของเราเหมือนกันนะ!
  • ลองหาวิธีนำมุมมองในแง่ดีกลับมา: หากเรารับรู้แล้วว่าคนที่ขี้บ่นคนนี้แท้จริงแล้วกำลังดิ้นรนหาทางออกจากเรื่องที่เขาระบายออกมา ให้ลองถามไถ่ หรือแสดงความเป็นห่วงเป็นใยพวกเขาดูสิ ตัวอย่างเช่น เมื่อพวกเขาพูดถึงบางสิ่งในทางลบมากอยู่เรื่อยๆ ให้ลองตั้งคำถามดูว่า “ทำไมถึงรู้สึกรำคาญสิ่งเหล่านี้ล่ะ?” เพราะการช่วยเหลือและสนับสนุนคนที่เป็น Chronic Complainer โดยการพยายามเข้าใจถึงต้นตอของปัญหา อาจจะช่วยให้เราและเขาพบวิธีแก้ปัญหาที่เหาะสมก็ได้
  • อย่าไปถ้าคุยกันไม่รู้เรื่อง แยกตัวเองออกมาดีกว่า: บอกตรงๆ คนขี้บ่นบางคนก็อาจไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ขนาดนั้น แม้ว่าเราจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อเปลี่ยนมุมมองและให้กำลังใจพวกเขาเหล่านี้ แต่บางครั้งก็ยังไม่สามารถชำระล้างความคิดในแง่ลบออกไปได้ ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาจึงลงเอยด้วยการบ่นเป็นลูปอยู่ร่ำไป ซึ่งอะไรแบบนี้ดันสามารถหันมาทำร้ายสุขภาพจิตของเราเองได้หมือนกัน

    เพราะฉะนั้นแล้ว หากใครกำลังพบว่าตัวเองวนอยู่กับคนขี้บ่นไม่รู้จบแบบนี้ ให้ลองปลีกตัวออกมา พยายามรักษาบทสนทนาของให้สั้นและใจเย็นให้มาก พร้อมกับแยกตัวออกมาเพื่อเซฟตัวเอง และให้เขาหาวิธีจัดการกับตัวเองไปแล้วกัน

อ้างอิง:

Allan, P. (2022, March 4). How to Deal with Chronic Complainers. Lifehacker. https://lifehacker.com/how-to-deal-with-chronic-complainers-1668185689 

Coach, V. R.-. E. &. E. (2022). 5 Signs And How To Deal With Chronic Complainers. Vivien Roggero. https://vivienroggero.com/blog/signs-of-a-chronic-complainer

4 วิธีสร้าง productivity ด้วยตัวเอง ส่งตรงจากมือถือ

Highlights: โดยปกติแล้วคนเรามักจะเริ่มหยิบเอาสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาในยามที่ไม่รู้จะทำอะไร หรือบางทีการเล่นโทรศัพท์มือถืออาจจะเกิดขึ้นจากการที่เรากำลังพยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากข่าวสารที่ตึงเครียด หรืออยากหนีจากความวุ่นวายรอบๆตัว และด้วยสาเหตุพวกนี้แหละ มันมักจะเริ่มต้นด้วยการที่เราเลื่อนโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ พอรู้ตัวอีกทีมันก็กินเวลาไปมากแล้ว การไถหน้าจอไปเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการที่เราไม่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการใช้มือถือ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เวลาของเราซะเลย ด้วยสาเหตุพวกนี้แหละส่งผลให้การเลื่อนดูสมาร์ทโฟนไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายมักจะเกิดขึ้นกับพวกเราในยุคนี้ได้อย่างง่ายดาย แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ใครว่าเราไม่สามารถสร้าง productivity จากสมาร์ทโฟนของพวกเราเองได้? จริงๆแล้ว สมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันมันมีประโชน์มากกว่าที่เราคิดซะอีก เพราะในโทรศัพท์ของเรายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย และสามารถสร้าง productivity

อัปสกิลที่มีอยู่ สู่งานใหม่ที่ดีกว่า ด้วย Transferable Skills

Highlights: ปัจจุบันการทำงานให้ตรงสายกับที่เรียนมานั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างที่จะท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะบางสายงาน เช่น งาน Adminstrative ทั่วไป หรือสาย Creative นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนรักและถนัด แต่ด้วยฐานความต้องการของสายอาชีพพวกนี้อาจจะไม่ได้มีความต้องการในตลาดมากเท่ากับพวกสายอาชีพเฉพาะ อย่างวิศวกร หรือเทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน หางานยากขึ้น ยิ่งบางอาชีพนั้นเงินค่าจ้างที่ได้ก็คงไม่ได้มากมายเท่าไร.. การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศได้ไตร่ตรองเส้นทางอาชีพของตน มองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและอาชีพมากขึ้น คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนในตอนนี้กำลังหาลู่ทางที่จะเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเอง เพราะฉะนั้นการโยกย้ายเปลี่ยนงานจึงอาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ