ผลกระทบสงครามที่ยืดเยื้อรัสเซียยูเครน ที่แม้แต่ตอนนี้ก็ยังน่าเป็นห่วง

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • จากเหตุการณ์สงครามระหว่างประเทศอย่างยูเครน และรัสเซีย ที่เกิดขึ้นมานับหลายเดือน มีผลกระทบและบทเรียนอะไรบ้าง ที่คนไทยอย่างเราต้องรู้?

ยังไม่ทันจะฟื้นตัวจากโควิด-19 ดี ทั่วทั้งโลกกลับต้องมาเผชิญกับสงครามในทวีปยุโรปที่ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งโลก

เป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่รัสเซียได้บุกรุกประเทศเพื่อนบ้านอย่างยูเครน จากการที่รัสเซียโจมตียูเครนนั้นส่งผลให้ ผู้คนบาดเจ็บ และเสียชีวิตมากมาย มีไปจนถึงหลักแสน ส่วนผู้คนที่ยังอยู่รอดก็อยู่อย่างอดๆ ยากๆ บ้างก็อพยพทิ้งบ้านเกิดตัวเอง ทิ้งข้าวของออกนอกประเทศไปตั้งตัวใหม่.. 

มาจนถึงตอนนี้และไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนจะจบลง และแม้ประเทศไทยเองจะไม่ใช่ประเทศที่มีความขัดแย้ง หรือได้รับผลกระทบโดยตรงจาจากสงครามนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเทศเราก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน 

ผลกระทบที่คนไทยยังต้องเผชิญจากเหตุการณ์ความขัดแย้งยูครน-รัสเซีย ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง?

  • การส่งออก-นำเข้า: พวกวัตถุดิบประเภท ปุ๋ย เหล็ก และแร่ธาตุ เป็นวัตถุดิบหลักในหลายๆอุตสาหกรรม ที่หลายประเทศนั้นทำการนำเข้าจากประเทศยูเครน และรัสเซียเป็นหลัก แม้แต่ไทยเราเองก็นำเข้าสินค้าพวกนี้มาจากรัสเซียอยู่ตลอด ดังนั้นเมื่อการคว่ำบาตรเกิดขึ้น สินค้าข้างต้นก็ทำให้หลายบริษัท อุตสาหกรรม หลายแห่งของไทยได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย เพราะต้องเปลี่ยนต้นทางการนำเข้าสินค้า ทำให้งบต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
  • ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเรื่อยๆ: หลายคนอาจจะไม่ทราบ แม้ว่าประเทศไทยจะมีแท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นของตัวเอง แต่เรานั้นไม่ได้ผลิตน้ำมันไว้ใช้เป็นหลัก ดังนั้นการที่น้ำมันราคาสูงขึ้น จึงเป็นอะไรที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แหล่งน้ำมันที่ไทยนำเข้านั้นอยู่มี 3 แห่ง คือสหรัฐฯ  ดูไบ และในยุโรปอย่างประเทศรัสเซีย ทำให้ด้วยมาตราการคว่ำบาตรต่างๆ ส่งผลให้ประเทศที่ได้มีการซื้อขายน้ำมันได้มีการซื้อขายน้ำมันกับรัสเซีย หนึ่งในเจ้าใหญ่ของโลกลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ปริมาณของสินค้านั่นลดลง ซึ่งสวนทางกับความต้องการของตลาด จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้ราคาต้นทุนของน้ำมันดิบมันสูงขึ้น อีกทั้งมาตราการของรัฐบาลไทยเองก็ไม่สามารถตรึงราคาน้ำมันไว้ได้
  •  สภาวะเงินเฟ้อ: ไม่ใช่แค่ในยุโรป แต่ทั้งทั้วโลก รวมไปถึงประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กันกับสภาวะเงินเฟ้อ

โดยปกติแล้ว สงครามระหว่างประเทศส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับทางทหารจะส่งผลกระทบให้เกิดสภาวะเงินเฟ้ออยู่แล้ว  เหตุก็เพราะว่า ประเทศที่เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลกอย่างประเทศสหรัฐฯ ได้ช่วยส่งยุทโธปกรณ์ทางทหาร และกองกำลังไปช่วยประเทศยูเครนป้องกันตนเองจากรัสเซีย ส่งผลให้สหรัฐเองนั้นต้องผลิตเงินเพิ่มขึ้นมา 

หากจะเท้าความสักหน่อย ปกติแล้วสงครามใดก็ตามที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ คอบควบคุมทิศทางของเศรษฐกิจโลก มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายจากการจ้างขนส่งอาวุธ รวมถึงการซื้อและยุทโธปกรณ์ทางทหารอีกด้วย ดังนั้นการใช้จ่ายเพิ่มเติมของการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการรบให้ยูเครนนั้นได้เพิ่มการขาดดุลของรัฐบาลกลางอย่างไม่ต้องสงสัย

  • การท่องเที่ยว: แม้ว่าตอนนี้สถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายไปมากแล้วก็ตาม แต่เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของบ้านเราก็ยังไม่ฟื้นตัวดีเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งก็มาจากประเทศจีนที่ยังไม่คลายล็อกดาวน์ดีนัก ส่งผลให้ตัวเลขของนักเที่ยวจากประเทศอันดับหนึ่งประเทศนี้นั้น แทบจะไม่กระดิกเพิ่มขึ้นเลย!

    แต่.. นอกจากชาวจีนแล้ว ก็มีชาวรัสเซียนี่แหละที่เป็นนักท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของบ้านเรา พอเกิดสงครามขึ้น หลายประเทศก็เริ่มแบนไม่ให้คนรัสเซียเข้าประเทศของตนเอง ซึ่งส่งผลให้สายการบินเกือบทุกแห่งยกเลิกเที่ยวบินการเดินทางเกือบทั้งหมดในรัสเซีย ดังนั้นบ้านเราจึงสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวแทบจะทั้งนั้น

อ้างอิง:

Bangkokbiznews. (2022, October 3). 8 เดือนไทยส่งออกไปรัสเซียติดลบ 35.43 %. Bangkokbiznews. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1030335 

BottomLiner. (2022). 5 อุตสาหกรรมหลักที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Russia และ Ukraine โดยตรง. FINNOMENA. https://www.finnomena.com/bottomliner/5-sectors-rus-ukr/ 
Strauss, A. (2022, January 27). The Reasons Why A War In Ukraine Will Make Inflation Worse. Forbes. https://www.forbes.com/sites/adamstrauss/2022/01/27/the-reasons-why-a-war-in-ukraine-will-make-inflation-worse/

‘ลาหยุด’ อย่างไรให้ดีต่อใจและการงาน?!

Highlights: ในวันหยุดพักผ่อน ไม่ว่าใครก็สามารถหลีกหนีจากความเครียดและตัดขาดจากการทำงานได้ด้วยการลาพักร้อน ซึ่งการลาหยุดนี้ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าข้อดีที่แท้จริงของการลาพักจากงานนั้นมีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น: วันหยุดในอุดมคติของพวกเราเพื่อขจัดความเครียด และสภาวะหมดไฟ จากผลสำรวจของ Mercer ใน Linkedin พบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ ของ พนักงานออฟฟิศเลือกที่จะมีวันหยุดแบบไม่มีแผนตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวันลาวันไหน เดือนไหนก็ได้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ปัญหาสภาวะหมดไฟ นอกจากนั้น

ใครบอกกันล่ะ ว่าเป็น Introverts แล้วจะต้องเป็นลูกน้องเสมอไป

Highlights: มนุษย์บนโลกมีตั้งกี่พันล้านคน จึงไม่แปลกที่ความหลากหลายทางกายภาพ ลักษณะนิสัย และบุกคลิกภาพจึงมีอยู่แตกต่างออกไปมากมาย..  การเป็น Introvert ก็ไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติอะไร เพียงแต่เป็นลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นพรสวรรค์ก็ได้ ใครจะรู้ล่ะ? ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ Introvert คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะขี้อาย ต่อต้านสังคม และหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงพวกเขาแค่ชอบการอยู่กับตัวเองมากกว่าก็เท่านั้นเอง โดยส่วนมาก Introvert

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์: ประเทศไทยเริ่มแล้วหรือยัง?

Highlight: “หากคุณดูผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการทำงาน เรามักจะให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานมากเกินไป อันที่จริงการทำงานจากระยะไกลและแบบผสมผสานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถขจัดความเหนื่อยหน่ายและการทำงานหนักเกินไปได้”  – โจ โอคอนเนอร์ (Joe O’Connor)  กรรมการบริหารของ 4 Day Week Global เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565