ปรับตัวให้ทันกับ Future of Work

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • อนาคตการทำงาน (Future of Work) ของมนุษย์เราจะเปลี่ยนไปอย่างไร?
  • โลกของ Automation และ Artificial Intelligence/A.I. จะมาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของโลกการทำงานมากขึ้น
  • จากผลการวิจัย  “Jobs of the Future: A Guide to Getting and Staying Employed Over the Next 10 Years”  ปี 2017 ของ Cognizant ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการทำงานเอาไว้ว่า ในอนาคตหลายอาชีพจะเปลี่ยนไป แต่ยังไม่หายไปไหนแน่นอน
  • ตัวอย่างอาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจริง ที่เราเชื่อว่าหลายคนสามารถเช็กสกิลที่ตัวเองมีอยู่ เพื่อจะอัปสกิลให้ทันใช้ในอนาคตอันใกล้

เมื่อแมชช์ชีนทำได้แทบจะทุกอย่าง หลายคนคงสงสัยสินะว่า โลกอนาคตการทำงาน (Future of Work) ของมนุษย์เราจะเปลี่ยนไปอย่างไร? ยังจะพอมีอาชีพอะไรที่จะเหลือพื้นที่ไว้สำหรับมนุษย์บ้าง?

ทุกวันนี้เราคงจะเห็นกันอยู่เรื่อยๆว่า นักวิชาการ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต่างๆ แนะนำว่าในโลกของระบบอัตโนมัติ (Automation) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence/AI) จะมาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของโลกการทำงานมากขึ้น แน่นอนว่าตั้งแต่เจ้าเทคโนโลยีพวกนี้เข้ามา มันก็เริ่มส่งผลให้พนักงานเงินเดือนอย่างเราเราก็อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป ซึ่งนั่นก็ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับการว่างงานในอนาคตก็เพิ่มมากขึ้น 

แต่ถึงอย่างนั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้… 

สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายวิเคราะห์กันต่างๆนานา ก็อาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป หากใครเคยดูหนังเรื่อง Back to the Future II (1985) หากจำกันได้ดี ตัวหนังได้ข้ามเวลามาในปี 2015 ซึ่งยุคนั้นได้สื่อให้เห็นว่าผู้สร้างได้จินตนาการถึงในอีก 10-20 ปี ข้างหน้าว่ามนุษย์เราคงจะมีรถลอยฟ้าขับแล้ว ว่าแต่… ทุกวันนี้เรามีรถลอยฟ้าขับแล้วรึยังนะ? 

อีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจจะพอมีหลักการขึ้นมาหน่อย อย่าง โธมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ผู้ที่คิดค้นหลอดไฟคนแรก ยังเคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Miami Metropolis ในปี 1911 เอาไว้ว่า ในศตวรรษที่ 21 เหล็กจะกลายมาเป็นวัสดุหลักสำคัญของการทำเฟอร์นิเจอร์ในบ้านแทนอย่างอื่น ตอนนี้ก็ผ่านไปแล้วจะใกล้ครึ่งศตวรรษ ก็ยังไม่มีวี่แววว่า เหล็กจะมาทดแทนวัสดุอื่นๆ ได้ในเวลาอันใกล้นี้

จากผลการวิจัย  “Jobs of the Future: A Guide to Getting and Staying Employed Over the Next 10 Years”  ปี 2017 ของ Cognizant ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการทำงานเอาไว้ว่า ในอนาคตหลายอาชีพจะยังไม่หายไปไหนแน่นอน เพียงแค่งานหลายประเภทจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า A.I. สามารถจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้เกือบจะทั้งหมด

แน่นอนว่าคนงานหลายคน ‘อาจจะ’ ต้องดิ้นรนมากกว่าเดิมเพื่อเตรียมพร้อมกับการหายไปของงานที่พวกเขากำลังทำอยู่ ซึ่งปัญหาที่คนเหล่านี้อาจจะพบได้ก็คือว่า มันยากที่จะประสบความสำเร็จกับสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะชาว Gen X หรือ Gen Y ต้นๆ ที่อาจจะ struggle ได้ เนื่องจากบางคนอาจจะถนัดทำงานแค่สายเดียว 

มาถึงตรงนี้เราอยากจะหยิบบางอาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจริง ที่เราเชื่อว่าหลายคนสามารถเช็กสกิลที่ตัวเองมีอยู่ เพื่อจะอัปสกิลให้ทันใช้ในอนาคตอันใกล้ โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ของ Cognizant 2 ฉบับ นั่นก็คือ “Jobs of the Future: A Guide to Getting and Staying Employed Over the Next 10 Years”  (2017)   และ “21 More Jobs of the Future: A Guide to Getting and Staying Employed through 2029” (2019)

Data Detective: แค่ชื่อก็น่าสนใจแล้วใช่มั้ยล่ะ? แต่ข้อมูลของอาชีพนี้นั้นน่าสนใจกว่า เพราะตอนนี้ Big data ค่อนข้างเป็นอะไรที่เติบโตไวมาก ดังนั้นจะเป็นไปได้มั้ย หากนักสืบสาย Data ที่ต้องการจะค้นหาข้อมูลที่ตกหล่น หรือหากมีอะไรแปลกๆ เกิดขึ้นกับระบบเทคโนโลยีขององค์กร คงจะดีไม่น้อยที่จะมีทีมสืบค้นในระบบข้อมูล

Voice UX Designer: เหตุผลที่เราเลือกอาชีพนี้มา นั่นก็เพราะว่าในอนาคต Voice marketing จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลก digital marketing มากขึ้น ดังนั้นใครเป็น UX/UI Designer อยู่แล้วนั้น น่าจะอยากลองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อที่จะอัปสกิลให้ตัวเองได้

Subscription Management Specialist: เนื่องจากปัจจุบันเราคงเห็นกันทั่วๆไปอยู่แล้วว่า model subscription กำลังเป็นที่นิยม เพราะอย่างนี้อาชีพนี้ถือว่าเป็นอาชีพที่น่าจะมีโอกาสที่หลายๆ บริษัทจะมีการเปิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น สกิลหลักๆ ที่อาจจะได้นำมาต่อยอดกับอาชีพนี้ เช่น CRM, SQL, Data management, Excel เป็นต้น

Esport Arena Builder:  บอกเลยว่า วงการ Esport นั้นกำลังเติบโตไวมากๆ เพราะนอกจากเด็กแล้ว ผู้ใหญ่ก็หันกลับมาเล่นเกมกันมากขึ้นในเวลาว่าง และเกมในปัจจุบันก็มีหลากหลายมากขึ้น ทำให้การจัดการแข่งขันของกีฬาด้านเกมจึงเป็นที่นิยมมากในตอนนี้ เลยไม่แปลกใจว่าทำไม Cognizant ถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของอาชีพนี้ในอนาคต 

แม้ว่าแมชช์ชีนจะสามารถทำหลายอย่างได้มากกว่ามนุษย์ แต่… พวกมันก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน สามารถสร้างตัวเอง พัฒนาตัวเอง หรือแก้ไขตัวเองโดยไม่มีคำสั่งได้มั้ย? คำตอบคือ ไม่ แล้วใครกันนะเป็นคนทำสิ่งนั้น? ใช่แล้ว ก็มนุษย์เรายังไงล่ะ! ดังนั้นไม่ต้องซีเรียสว่าในอนาคตเราจะตกงานมั้ย? เพราะโอกาสที่มนุษย์ยังเป็นที่ต้องการก็ยังคงจะมีอยู่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพที่เรายังเห็นอยู่ทุกวันนี้ หรืออาชีพใหม่ๆ ที่หลายคนอาจจะยังคาดไม่ถึงก็อาจจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

อ้างอิง:

Pring, Brown, Bahl, Cook, & Davis (2017, November). 21 Jobs of the Future: A Guide to Getting – and Staying – Employed Over the Next 10 Years.  Cognizant. https://www.cognizant.com/us/en/whitepapers/documents/21-jobs-of-the-future-a-guide-to-getting-and-staying-employed-over-the-next-10-years-codex3049.pdf

Pring, Brown, Bahl, Cook, & Davis. (2018, October). 21 Jobs of the Future: A Guide to Getting – and Staying – Employed through 2029. Cognizant. https://digitally.cognizant.com/content/dam/digitally-cognizant/en_us/documents/whitepapers/21-more-jobs-of-the-future-a-guide-to-getting-and-staying-employed-through-2029-codex3928.pdf

4 วิธีสร้าง productivity ด้วยตัวเอง ส่งตรงจากมือถือ

Highlights: โดยปกติแล้วคนเรามักจะเริ่มหยิบเอาสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาในยามที่ไม่รู้จะทำอะไร หรือบางทีการเล่นโทรศัพท์มือถืออาจจะเกิดขึ้นจากการที่เรากำลังพยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากข่าวสารที่ตึงเครียด หรืออยากหนีจากความวุ่นวายรอบๆตัว และด้วยสาเหตุพวกนี้แหละ มันมักจะเริ่มต้นด้วยการที่เราเลื่อนโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ พอรู้ตัวอีกทีมันก็กินเวลาไปมากแล้ว การไถหน้าจอไปเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการที่เราไม่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการใช้มือถือ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เวลาของเราซะเลย ด้วยสาเหตุพวกนี้แหละส่งผลให้การเลื่อนดูสมาร์ทโฟนไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายมักจะเกิดขึ้นกับพวกเราในยุคนี้ได้อย่างง่ายดาย แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ใครว่าเราไม่สามารถสร้าง productivity จากสมาร์ทโฟนของพวกเราเองได้? จริงๆแล้ว สมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันมันมีประโชน์มากกว่าที่เราคิดซะอีก เพราะในโทรศัพท์ของเรายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย และสามารถสร้าง productivity

อัปสกิลที่มีอยู่ สู่งานใหม่ที่ดีกว่า ด้วย Transferable Skills

Highlights: ปัจจุบันการทำงานให้ตรงสายกับที่เรียนมานั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างที่จะท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะบางสายงาน เช่น งาน Adminstrative ทั่วไป หรือสาย Creative นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนรักและถนัด แต่ด้วยฐานความต้องการของสายอาชีพพวกนี้อาจจะไม่ได้มีความต้องการในตลาดมากเท่ากับพวกสายอาชีพเฉพาะ อย่างวิศวกร หรือเทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน หางานยากขึ้น ยิ่งบางอาชีพนั้นเงินค่าจ้างที่ได้ก็คงไม่ได้มากมายเท่าไร.. การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศได้ไตร่ตรองเส้นทางอาชีพของตน มองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและอาชีพมากขึ้น คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนในตอนนี้กำลังหาลู่ทางที่จะเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเอง เพราะฉะนั้นการโยกย้ายเปลี่ยนงานจึงอาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ