Breaking orthodoxies จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..? – มาหัดตั้งคำถามให้องค์กรเติบโตกันเถอะ

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • ปกติแล้วมนุษย์เราไม่ชอบทำลายหรือแก้ไขขนบธรรมเนียมเดิม เพราะคิดว่าสิ่งๆนี้มันดีอยู่แล้ว จึงไม่กล้าเปลี่ยนมัน แต่หารู้ไม่ว่าบางครั้งผู้คนอาจติดกับได้ เพราะไม่กล้าคิดนอกกรอบไปจากเดิม
  • หนึ่งในคำถามที่สำคัญที่สุดที่ในการทำงานร่วมกับองค์คือ พวกเขาจะสามารถทำลายหลักดั้งเดิมของเขา หรือของอุตสาหกรรมของเขาได้จริงแค่ไหน? 

ด้วยโลกในปัจจุบัน บางบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าปรับตามให้ทันยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากพวกเขาให้ความสำคัญกับการรักษาตำแหน่งทางการตลาดในปัจจุบัน และขอแค่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มีอยู่มากกว่าที่จะคว้านหาการสร้างโอกาสใหม่ และด้วยสาเหตุนี้เอง ที่มักจะทำให้พวกเขาต้องถึงทางตันในการทำธุรกิจ ดังนั้น ทางออกแบบไหนกันที่จะทำให้องค์กรที่ไม่กล้าเสี่ยงแบบนี้เติบโตได้?

รู้จัก Breaking Orthodoxies (การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ)

การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ การท้าทายและตั้งคำถามถึงวิธีการทำสิ่งต่างๆ แบบเดิมๆ ออร์ทอดอกซ์เป็นข้อสันนิษฐาน หรือความเชื่อที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นจริงในอุตสาหกรรม ตลาด หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง สมมติฐานเหล่านี้สามารถจำกัดและขัดขวางธุรกิจจากการเห็นโอกาสใหม่ๆ หรือพิจารณาแนวทางอื่นๆ ได้

การทำลายความเชื่อดั้งเดิมอาจเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับขับเคลื่อนนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ ด้วยการกล้าเสี่ยงที่จะออกมาจากสมมติฐาน และความเชื่อที่มีมายาวนาน เพื่อให้ธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่นั้นสามารถค้นพบโอกาสใหม่ๆ สร้างตลาดใหม่ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่อาจจะสามารถพลิกโฉมวงการ ซึ่งสามารถเปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรมของตนเองได้อย่างเหลือเชื่อ!

 “what if?” 

หากต้องการทำลายกฎดั้งเดิม องกรค์นั้นจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า..?” เพื่อสำรวจสถานการณ์ทางเลือก พวกเขาต้องเปิดใจ อยากรู้อยากเห็น และเต็มใจที่จะเสี่ยง สิ่งนี้ต้องการความเต็มใจที่จะท้าทายสถานะที่เป็นอยู่และยอมรับความไม่แน่นอน ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางธุรกิจ

จากหนังสือ Disrupt: Think the Unthinkable to Spark Transformation in Your Business” เขียนโดย ลูค วิลเลี่ยมส์ (Luke Williams) ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมที่ Stern School of Business ของ NYU โดยหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับแนวคิดของ ‘Disruptive Thinking’  ซึ่งเป็นแนวคิดในการท้าทายสภาพที่เป็นอยู่ และการคิดต่างเพื่อจุดประกายนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ

วิลเลียมส์ให้เหตุผลว่า องค์กรจำนวนมากล้มเหลวในการทำธุรกิจ เพราะพวกเขามุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงทีละส่วนมากเกินไป และล้มเหลวในการคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยในหนังสือเขาแนะนำว่า ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการคิดในสิ่งที่คาดไม่ถึง และถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้น?” คำถามเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริง

ดังนั้นการทำอะไรช้าๆ แต่อาจจะได้พร้าเล่มงานก็อาจจะไม่จริงเสมอไป เพราะการพึ่งพาการเปลี่ยนแปลงที่อย่างช้าๆ แบบนี้เพียงอย่างเดียวอาจมีความเสี่ยงได้ไม่ต่างจากการเร่งลงมือทำ เนื่องจากการไม่ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอาจทำให้ความสามารถในการสร้าง หรือเพิ่มกำไรลดลงเมื่อเวลาผ่านไป..

อย่างไรก็ตาม การทำลายความเชื่อดั้งเดิมอาจนำไปสู่ผลตอบแทนที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของลูกค้าที่ดีขึ้น และความสามารถในการทำกำไรที่มากขึ้น ด้วยการท้าทายสมมติฐานและการคิดที่แตกต่างจากอะไรเดิมๆ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างคุณค่าใหม่ให้กับลูกค้า

ด้วยเหตุนี้บริษัทต่างๆในปัจจุบัน จึงต้องสร้างความก้าวหน้าด้วยการกล้าทำลายความเชื่อแบบดั้งเดิมขององค์กรด้วยนวัตกรรมและนอกเหนือจากนี้ยังต้องมีความคิดที่ก้าวหน้าอีกด้วย!

อ้างอิง:

Flipping Orthodoxies: How to Rewrite the Rules of Competition – before your competitors do. OCAD U CO. https://ocadu.co/blog/flipping-orthodoxies-how-to-rewrite-the-rules-of-competition/ 

Lemus, D. Design Thinking Ideation Technique: Challenging Orthodoxies. Peer Insight. https://peerinsight.com/blog/ideation-orthodoxies/

‘ลาหยุด’ อย่างไรให้ดีต่อใจและการงาน?!

Highlights: ในวันหยุดพักผ่อน ไม่ว่าใครก็สามารถหลีกหนีจากความเครียดและตัดขาดจากการทำงานได้ด้วยการลาพักร้อน ซึ่งการลาหยุดนี้ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าข้อดีที่แท้จริงของการลาพักจากงานนั้นมีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น: วันหยุดในอุดมคติของพวกเราเพื่อขจัดความเครียด และสภาวะหมดไฟ จากผลสำรวจของ Mercer ใน Linkedin พบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ ของ พนักงานออฟฟิศเลือกที่จะมีวันหยุดแบบไม่มีแผนตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวันลาวันไหน เดือนไหนก็ได้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ปัญหาสภาวะหมดไฟ นอกจากนั้น

ใครบอกกันล่ะ ว่าเป็น Introverts แล้วจะต้องเป็นลูกน้องเสมอไป

Highlights: มนุษย์บนโลกมีตั้งกี่พันล้านคน จึงไม่แปลกที่ความหลากหลายทางกายภาพ ลักษณะนิสัย และบุกคลิกภาพจึงมีอยู่แตกต่างออกไปมากมาย..  การเป็น Introvert ก็ไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติอะไร เพียงแต่เป็นลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นพรสวรรค์ก็ได้ ใครจะรู้ล่ะ? ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ Introvert คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะขี้อาย ต่อต้านสังคม และหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงพวกเขาแค่ชอบการอยู่กับตัวเองมากกว่าก็เท่านั้นเอง โดยส่วนมาก Introvert

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์: ประเทศไทยเริ่มแล้วหรือยัง?

Highlight: “หากคุณดูผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการทำงาน เรามักจะให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานมากเกินไป อันที่จริงการทำงานจากระยะไกลและแบบผสมผสานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถขจัดความเหนื่อยหน่ายและการทำงานหนักเกินไปได้”  – โจ โอคอนเนอร์ (Joe O’Connor)  กรรมการบริหารของ 4 Day Week Global เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565