Data Analyst ถ้าอยากเป็น ตอนไหนก็ไม่สาย แม้ไม่มีประสบการณ์

Share on facebook
Share on twitter

Highlight: 

  • Data Analyst มีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และแม้ว่านักวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากจะมีประสบการณ์มาก่อน แต่ในปัจจุบัน แม้ว่าประสบการณ์อาจจะไม่โชกโชนก็สามารถทำได้เช่นกัน
  • แนะนำ 4 อาชีพสาย Data Anlayst เริ่มต้น ที่ใครก็เป็นได้แม้ไม่ได้เรียนจบสายนี้ หรือมีประสบกรณ์การการทำงานโดยตรง

ไม่ว่าจะบริษัทไหน ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก เกือบทั้งหมดต้องร่วมแรงและลงทุนไปกับการรวบรวมกระบวนการในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อองค์กร เช่น ข้อมูลที่ต้องใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมและปฏิกิริยาของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ ข้อมูลที่ช่วยทำให้เห็นตัวเลข ภาพรวมการทำงานชององกรค์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบองค์กรให้ดีกว่าเก่า เป็นต้น ตรงส่วนนี้แหละคือส่วนที่ทำให้ Data Analyst เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนบริษัทให้ก้าวไปข้างหน้า

สรุปง่ายๆ นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) มีความสำคัญอย่างไร?

Data Anaylst นั้นจะช่วยให้ธุรกิจไม่ต้องไปงมหาข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่มากมาย เพราะพวกเขาเหล่านี้จะนำข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้นมาตีความข้อมูลเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้คนอื่นเห็นภาพได้ชัด แต่ต้องครอบคลุมให้ได้มากที่สุด หน้าที่หลักๆที่เห็นได้ชัด คือ การที่จะวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ Data Analyst จะต้องประมวลผล ศึกษาข้อมูล และสรุปผลลัพธ์ออกมาเพื่อให้องค์กรสามารถนำ data เหล่านั้นไปต่อยอดได้ ดังนั้นผลงานของ Data Analyst สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างมีวัตถุประสงค์เมื่อถึงเวลาต้องเริ่มโปรเจกต์ใหม่ และยังทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีประสบการณ์ ไม่ได้เรียนสายนี้โดยตรง! ต้องเริ่มจากไหนถ้าอยากจะเป็น Data Analyst?

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า มีทักษะอะไรบ้างนักวิเคราะห์ข้อมูลที่อย่างน้อยควรมีความรู้พื้นฐานควรเหล่านี้ ที่รวมทั้ง Soft Skill, Hard Skill ไปจนถึง Power Skill:

  • ความรู้เบื้องต้นกับภาษาโปรแกรม: บ่อยครั้งที่นักวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแบบจำลองเพื่อช่วยแยกและวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้น จึงเป็นประโยชน์สำหรับนักวิเคราะห์ข้อมูลในการรู้จักภาษาโปรแกรม เช่น Python SQL JavaScript เป็นต้น เพียงแค่มี ใบ certificate คอร์สเรียนโปรแกรมพวกนี้ ก็สามารถช่วยให้เราเป็นที่จับตามองได้ไม่ยาก!
  • ความรู้เกี่ยวกับระบบ BI: BI หรือ ‘Business Intelligence’ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงและวิเคราะห์ชุดข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ที่ให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ซึ่งที่ Data Analyst นั้นมักจะมี กราฟ ชาร์ต แดชบอร์ด หรือรายงานบน Excel  ตัวอย่างโปรแกรม BI ที่หลายองค์กรทั่วไปใช้ เช่น Tableau Power BI เป็นต้น
  • สกิลในการวิเคราะห์: ก็ต้องแน่อยู่แล้วไหมล่ะ? ที่ความรับผิดชอบหลักของนักวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจที่ดีจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อคนที่สนใจอยากจะพัฒนาตัวเองสำหรับอาชีพนี้
  • การใส่ใจในรายละเอียด: ยิ่งต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ การใส่ใจในรายละเอียดเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับ Data Analyst อย่างมาก เราอาจจะต้องเสียเวลาไปกับการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น แม้จุดนั้นจะเป็นจุดเล็กๆ ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถึงเวลาต้องแสดงผลลัพธ์ SQL ตัวคำสั่งอาจจะไม่สามารถวิเคราะห์ data ได้ หากมีข้อผิดพลาดแม้แต่จุดเดียว

เมื่อทราบถึงสกิลเบื้องต้นแล้ว เราลองมาดูกันดีกว่าว่าในเส้นทาง Data Analyst มีอาชีพอะไรบ้างที่ไม่ว่าใครก็เป็นได้!

  • นักป้อนข้อมูล (Data Entry): พนักงานป้อนข้อมูล หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่นำข้อมูลลงบนฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงต้องคอยอัพเดทและจัดระเบียบฐานข้อมูลอยู่สม่ำเสมอ โดยทั่วไปแล้วตำแหน่งนี้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมอะไร เพราะนี่คือตำแหน่งเบื้องต้นที่สามารถปูทางไปสู่ Data Analyst ได้ เนื่องจากตำแหน่งนี้เราต้องทำงานอยู่กับข้อมูลและรูปแบบรายงานต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวได้ว่าเราสนใจที่จะเจาะลึกไปทาง Data Analyst ได้หรือไม่
  • นักวิเคราะห์ข้อมูล (Junior Data Analyst) : การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งระดับเริ่มต้นเป็นวิธีหนึ่งในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ดีเลยทีเดียว ด้วยเหตุที่เมื่อพอเราเริ่มที่ตำแหน่งจูเนียร์ หรือ Entry-level เรามักจะได้หน้าที่ที่ต้องช่วยเหลือ Data Analyst คนอื่นอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้จะทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการทำงานจากผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง ทำให้เราสามารถทำความเข้าใจ และวิธีหาข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • (BI Data Analyst): อีกหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการเริ่มต้นอาชีพด้านวิเคราะห์ข้อมูล คือ การเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะทางด้าน Business Intelligence (BI) ซึ่งตำแหน่งนี้จะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า Data Analyst ทั่วไป เพราะเราจะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลที่สามารถช่วยเปลี่ยนข้อมูลที่วิเคราะห์มาได้ให้เป็นข้อมูลเชิงลึกสำหรับองค์กร โดยผ่านการใช้ระบบ BI อย่าง Tableau Python หรือแม้แต่แค่ Microsoft Excel เองเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เขียนรายงาน และสร้างแดชบอร์ดเพื่อนำเสนอข้อมูลให้บริษัท
  • Quality Assurance/QA Data Analyst: นอกจากนักวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว อาชีพที่จะช่วยเมคชัวร์ว่คุณภาพของข้อมูลที่องค์กรใช้มีความสมบูรณ์และถูกต้องก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจเช่นกัน แม้ตำแหน่งนี้อาจจะไม่ต้องมีความรู้ Data Analyst มากขนาดนั้น แต่ข้อดีคืออาจจะได้ทำงานร่วมกับ Developer เพื่อปรับปรุงระบบ Database ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยให้เราเข้าใจถึงระบบและการทำงานของ Data Analyst เช่นกัน ยังไม่พอ! ยิ่งหากเราพอมีสกิลหรือประสบการณ์ระดับหนึ่งในด้าน Quality Control ก็จะทำให้เราได้เปรียบเหนือคนอื่นๆอีกด้วย

อ้างอิง:

Coursera. (2023, June 15). 7 In-Demand Data Analyst Skills to get you hired in 2023. Coursera. https://www.coursera.org/articles/in-demand-data-analyst-skills-to-get-hired 

Fruhlinger, T. O. a. J. (2023, January 20). What is business intelligence? Transforming data into business insights. CIO. https://www.cio.com/article/272364/business-intelligence-definition-and-solutions.html  

Indeed Editorial Team. (2023, January 4). How To Find No-Experience Data Analyst Jobs (With Tips). Indeed. https://www.indeed.com/career-advice/finding-a-job/no-experience-data-analyst-jobs 

อัปสกิลที่มีอยู่ สู่งานใหม่ที่ดีกว่า ด้วย Transferable Skills

Highlights: ปัจจุบันการทำงานให้ตรงสายกับที่เรียนมานั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างที่จะท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะบางสายงาน เช่น งาน Adminstrative ทั่วไป หรือสาย Creative นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนรักและถนัด แต่ด้วยฐานความต้องการของสายอาชีพพวกนี้อาจจะไม่ได้มีความต้องการในตลาดมากเท่ากับพวกสายอาชีพเฉพาะ อย่างวิศวกร หรือเทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน หางานยากขึ้น ยิ่งบางอาชีพนั้นเงินค่าจ้างที่ได้ก็คงไม่ได้มากมายเท่าไร.. การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศได้ไตร่ตรองเส้นทางอาชีพของตน มองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและอาชีพมากขึ้น คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนในตอนนี้กำลังหาลู่ทางที่จะเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเอง เพราะฉะนั้นการโยกย้ายเปลี่ยนงานจึงอาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ

รู้จักกับการเปิดโหมด Deep Work เพื่องานที่เรารักกันเถอะ

Highlights: จริงอยู่ที่การเป็น ‘Multitasker’ ในเวลานี้ค่อนข้างเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมากในยุคที่การแข่งขันสูงแบบนี้ การที่จะทำให้เราเป็นที่จับตามองขององค์กรนั้น ยิ่งมีผลงานเยอะ ก็อาจจะยิ่งถูกมองว่ามากประสบการณ์ก็เป็นได้ แต่ในความเป็นจริง การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกันมักจะให้ผลลัพธ์ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่า เพราะสมองของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำอะไรหลายอย่างได้พร้อมกันยังไงล่ะ! ดังนั้น… จะดีกว่าไหมหากเราหันมาโฟกัสงานอย่างใดอย่างหนึ่งในเวลาเดียวด้วย Deep Work? หากเราค้นหาคำว่าในอินเทอร์เน็ต สิ่งแรกที่จะเจอเกี่ยวกับ Deep Work คงหนีไม่พ้นหนังสือชื่อดังของ

เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Highlights: ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง? ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง