Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • Fauxpology คือ รูปแบบของ “การขอโทษ” โดยที่บุคคลที่ขอโทษไม่ได้รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่พวกเขาทำลงไป
  • Fauxpology นั้นเป็นวิธีเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการทำสิ่งเลวร้ายของผู้ที่ทำผิด โดยบางครั้งผู้พูด หรือผู้ที่ทำผิด แสดงการขอโทษออกมาโดยที่ไม่ได้เต็มใจจะขอโทษ แต่สถานการณ์รอบข้างอาจจะบีบบังคับให้ทำ

“ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ”

เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย?

อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย น้ำเสียง และใบหน้าของผู้ที่กำลังขอโทษเราได้อย่างง่ายดาย

Fauxpology คือ รูปแบบของ “การขอโทษ” โดยที่บุคคลที่ขอโทษไม่ได้รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่พวกเขาทำลงไป

ดร.วิกตอเรีย เอสแคนเดลล์ วิดัล (dr. Victoria Escandell Vidal) อาจารย์ Linguistic ที่มหาวิทยาลัยคอมพลูเทนเซ่ ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้อธิบายเอาไว้ว่า Fauxpology นั้นเป็นวิธีเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการทำสิ่งเลวร้ายของผู้ที่ทำผิด โดยบางครั้งผู้พูด หรือผู้ที่ทำผิด แสดงการขอโทษออกมาโดยที่ไม่ได้เต็มใจจะขอโทษ แต่สถานการณ์รอบข้างอาจจะบีบบังคับให้ทำ คำพูดของพวกเขาในตอนแรกอาจดูเหมือนเป็นการขอโทษ แต่หากเราพยายามคิดตามคำพูดพวกนี้ สำหรับหลายคน หากฟังครั้งแรกอาจจะเป็นอะไรที่ยอมรับได้ แต่ลึกๆ ก็ยังมีอะไรบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากลอยู่ดี.. 

อย่างไรก็ตาม Fauxology อาจจะไม่ได้หมายถึงคำแค่พูด แต่รวมไปถึง กิริยา อาการของผู้ที่ทำผิดไม่ยอมแสดงความสำนึกผิดให้กับผู้ที่ควรได้รับคำขอโทษออกมา โดยคำนี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อเปรียบเปรยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในโลกการเมืองและสื่อ

เพราะเหตุใดรูปแบบ Fauxpology จึงเป็นเรื่องธรรมดาในโลกปัจจุบัน รวมไปถึงวงการสื่อ หรือการเมือง?

หากพูดตรงๆ เมื่อผู้กระทำผิดไม่ได้รู้สึกเสียใจอย่างแท้จริง พวกเขาไม่ต้องการยอมรับโดยตรง แต่ก็ไม่อยากให้เรื่องราวมันยืดเยื้อไปเรื่อยๆ อีกหนึ่งนัยยะ เซเลบริตี้ หรือนักการเมืองทั้งหลายก็กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา มากไปกว่านั้นก็อาจเป็นเพราะกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น เวลาบุคคลที่มีชื่อเสียงมีข่าวเสียหาย มักจะออกมาแถลงขอโทษ 

อย่างในกรณีของ ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein) อดีตเจ้าพ่อใหญ่แห่งวงการหนังฮอลลีวู้ดชื่อดัง ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณะชนต่อเรื่องอื้อฉาวที่เขากระทำ Sexual Harrassment ต่อนักแสดงสาวทั้งหลายนั้น โดยเขาอ้างว่าในยุค 60 ถึง 70 ที่เขาเป็นวัยรุ่นนั้น เป็นยุคที่กฎเกณฑ์และวัฒนธรรมทั้งหมดแตกต่างกับปัจจุบัน และเขาก็แก่เกินกว่าที่จะเข้าใจมัน ซึ่งอ่านแค่นี้ก็แทบจะเห็นไดเลยว่า นั่นเป็นการขอโทษที่แทบจะไม่แสดงความรับผิดชอบอะไรเลย

ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการแสดงอาการขอโทษแบบนี้ไม่ใช่เพื่อชดใช้ให้ผู้เสียหาย แต่เพื่อพยายามลดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของตัวเองต่างหาก

อย่างนั้นแล้ว ควรขอโทษอย่างไร เพื่อให้ดูจริงใจมากที่สุด?

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากขนาดไหน เราไม่สามารถเสแสร้งได้หรอก ถ้าเราไม่ได้เสียใจ และรู้สึกขอโทษจริงๆ เพราะนอกจากจะต้องขอโทษแล้ว เรายังต้องเตรียมพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองอีกด้วย การขอโทษที่ดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายที่รู้ว่าทำผิดนั้น จะยอมรับและแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน

ดังนั้นการขอโทษที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดที่สวยหรู แต่เป็นคำพูดที่ออกมาจากใจของตัวเอง โดยตราบใดที่เราหมายความตามนั้น คำขอโทษที่จริงใจก็จะมีความหมาย และผู้ฟังก็จะรับรู้ได้ถึงความตั้งใจที่จะแสดงความรับผิดชอบนั้นของเรา

อ้างอิง:

7 Times Powerful People Gave Pathetic Apologies For Their Bad Behavior. The Establishment. https://theestablishment.co/7-times-powerful-people-gave-pathetic-apologies-for-their-bad-behavior-8b45f7b77ed0/index.html 
Serrano, B. (2022, April 2). Sorry not sorry: Will Smith and the art of the ‘fauxpology.’ EL PAÍS English. https://english.elpais.com/culture/2022-04-02/sorry-not-sorry-will-smith-and-the-art-of-the-fauxpology.html

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง

เมื่อ Gen Z บอกว่า “หมาแมว” ดีกว่ามีลูก เพราะพวกเขาไม่ได้แค่เลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงฝันให้กลายเป็นจริง ถ้าคุณคิดว่าเจ้าหมาหรือแมวที่บ้านของคุณเป็นแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา คุณอาจไม่ได้เกิดในยุคของ Gen Z เพราะสำหรับคนรุ่นนี้ หมากับแมวไม่ใช่แค่เพื่อนซี้ แต่คือโปรเจกต์สร้างความสุข ไลฟ์สไตล์ และความยั่งยืนที่ต้องเป๊ะทั้งในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ ตามรายงานจาก The Sun

ใครบอกกันล่ะ ว่าเป็น Introverts แล้วจะต้องเป็นลูกน้องเสมอไป

Highlights: มนุษย์บนโลกมีตั้งกี่พันล้านคน จึงไม่แปลกที่ความหลากหลายทางกายภาพ ลักษณะนิสัย และบุกคลิกภาพจึงมีอยู่แตกต่างออกไปมากมาย..  การเป็น Introvert ก็ไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติอะไร เพียงแต่เป็นลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางครั้งอาจกลายเป็นพรสวรรค์ก็ได้ ใครจะรู้ล่ะ? ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ Introvert คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะขี้อาย ต่อต้านสังคม และหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงพวกเขาแค่ชอบการอยู่กับตัวเองมากกว่าก็เท่านั้นเอง โดยส่วนมาก Introvert

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์: ประเทศไทยเริ่มแล้วหรือยัง?

Highlight: “หากคุณดูผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการทำงาน เรามักจะให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานมากเกินไป อันที่จริงการทำงานจากระยะไกลและแบบผสมผสานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถขจัดความเหนื่อยหน่ายและการทำงานหนักเกินไปได้”  – โจ โอคอนเนอร์ (Joe O’Connor)  กรรมการบริหารของ 4 Day Week Global เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565