Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Share on facebook
Share on twitter

Highlights:

  • Fauxpology คือ รูปแบบของ “การขอโทษ” โดยที่บุคคลที่ขอโทษไม่ได้รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่พวกเขาทำลงไป
  • Fauxpology นั้นเป็นวิธีเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการทำสิ่งเลวร้ายของผู้ที่ทำผิด โดยบางครั้งผู้พูด หรือผู้ที่ทำผิด แสดงการขอโทษออกมาโดยที่ไม่ได้เต็มใจจะขอโทษ แต่สถานการณ์รอบข้างอาจจะบีบบังคับให้ทำ

“ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ”

เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย?

อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย น้ำเสียง และใบหน้าของผู้ที่กำลังขอโทษเราได้อย่างง่ายดาย

Fauxpology คือ รูปแบบของ “การขอโทษ” โดยที่บุคคลที่ขอโทษไม่ได้รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่พวกเขาทำลงไป

ดร.วิกตอเรีย เอสแคนเดลล์ วิดัล (dr. Victoria Escandell Vidal) อาจารย์ Linguistic ที่มหาวิทยาลัยคอมพลูเทนเซ่ ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้อธิบายเอาไว้ว่า Fauxpology นั้นเป็นวิธีเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบในการทำสิ่งเลวร้ายของผู้ที่ทำผิด โดยบางครั้งผู้พูด หรือผู้ที่ทำผิด แสดงการขอโทษออกมาโดยที่ไม่ได้เต็มใจจะขอโทษ แต่สถานการณ์รอบข้างอาจจะบีบบังคับให้ทำ คำพูดของพวกเขาในตอนแรกอาจดูเหมือนเป็นการขอโทษ แต่หากเราพยายามคิดตามคำพูดพวกนี้ สำหรับหลายคน หากฟังครั้งแรกอาจจะเป็นอะไรที่ยอมรับได้ แต่ลึกๆ ก็ยังมีอะไรบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากลอยู่ดี.. 

อย่างไรก็ตาม Fauxology อาจจะไม่ได้หมายถึงคำแค่พูด แต่รวมไปถึง กิริยา อาการของผู้ที่ทำผิดไม่ยอมแสดงความสำนึกผิดให้กับผู้ที่ควรได้รับคำขอโทษออกมา โดยคำนี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อเปรียบเปรยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในโลกการเมืองและสื่อ

เพราะเหตุใดรูปแบบ Fauxpology จึงเป็นเรื่องธรรมดาในโลกปัจจุบัน รวมไปถึงวงการสื่อ หรือการเมือง?

หากพูดตรงๆ เมื่อผู้กระทำผิดไม่ได้รู้สึกเสียใจอย่างแท้จริง พวกเขาไม่ต้องการยอมรับโดยตรง แต่ก็ไม่อยากให้เรื่องราวมันยืดเยื้อไปเรื่อยๆ อีกหนึ่งนัยยะ เซเลบริตี้ หรือนักการเมืองทั้งหลายก็กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา มากไปกว่านั้นก็อาจเป็นเพราะกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น เวลาบุคคลที่มีชื่อเสียงมีข่าวเสียหาย มักจะออกมาแถลงขอโทษ 

อย่างในกรณีของ ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein) อดีตเจ้าพ่อใหญ่แห่งวงการหนังฮอลลีวู้ดชื่อดัง ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณะชนต่อเรื่องอื้อฉาวที่เขากระทำ Sexual Harrassment ต่อนักแสดงสาวทั้งหลายนั้น โดยเขาอ้างว่าในยุค 60 ถึง 70 ที่เขาเป็นวัยรุ่นนั้น เป็นยุคที่กฎเกณฑ์และวัฒนธรรมทั้งหมดแตกต่างกับปัจจุบัน และเขาก็แก่เกินกว่าที่จะเข้าใจมัน ซึ่งอ่านแค่นี้ก็แทบจะเห็นไดเลยว่า นั่นเป็นการขอโทษที่แทบจะไม่แสดงความรับผิดชอบอะไรเลย

ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการแสดงอาการขอโทษแบบนี้ไม่ใช่เพื่อชดใช้ให้ผู้เสียหาย แต่เพื่อพยายามลดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของตัวเองต่างหาก

อย่างนั้นแล้ว ควรขอโทษอย่างไร เพื่อให้ดูจริงใจมากที่สุด?

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากขนาดไหน เราไม่สามารถเสแสร้งได้หรอก ถ้าเราไม่ได้เสียใจ และรู้สึกขอโทษจริงๆ เพราะนอกจากจะต้องขอโทษแล้ว เรายังต้องเตรียมพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองอีกด้วย การขอโทษที่ดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายที่รู้ว่าทำผิดนั้น จะยอมรับและแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน

ดังนั้นการขอโทษที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดที่สวยหรู แต่เป็นคำพูดที่ออกมาจากใจของตัวเอง โดยตราบใดที่เราหมายความตามนั้น คำขอโทษที่จริงใจก็จะมีความหมาย และผู้ฟังก็จะรับรู้ได้ถึงความตั้งใจที่จะแสดงความรับผิดชอบนั้นของเรา

อ้างอิง:

7 Times Powerful People Gave Pathetic Apologies For Their Bad Behavior. The Establishment. https://theestablishment.co/7-times-powerful-people-gave-pathetic-apologies-for-their-bad-behavior-8b45f7b77ed0/index.html 
Serrano, B. (2022, April 2). Sorry not sorry: Will Smith and the art of the ‘fauxpology.’ EL PAÍS English. https://english.elpais.com/culture/2022-04-02/sorry-not-sorry-will-smith-and-the-art-of-the-fauxpology.html

เมื่อ Soft Skills แปรเปลี่ยนเป็น Power Skills

Highlights: ต้องยอมรับว่าหนึ่งในหัวข้อที่ฮอตฮิตมากที่สุดในแวดวงของธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ การเพิ่มทักษะ (Upskilling) และการปรับทักษะใหม่ (Reskilling) เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน (Future of Work) องค์กรต่างๆ กำลังคว้านหาคอร์สเรียนจำนวนมากเพื่อพยายามที่จะ “เพิ่มทักษะ” ให้กับพนักงานของตัวเอง และพวกเขาเห็นผลลัพธ์ที่หลากหลาย Skills แบบไหน ที่องค์กรต่างใฝ่ฝันถึง? ปกติแล้วนั้นสกิลของพนักงานที่องค์กรมองหาจากพนักงาน มักจะหมายถึง

Breaking orthodoxies จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..? – มาหัดตั้งคำถามให้องค์กรเติบโตกันเถอะ

Highlights: ด้วยโลกในปัจจุบัน บางบริษัทเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าปรับตามให้ทันยุคสมัย และความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากพวกเขาให้ความสำคัญกับการรักษาตำแหน่งทางการตลาดในปัจจุบัน และขอแค่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มีอยู่มากกว่าที่จะคว้านหาการสร้างโอกาสใหม่ และด้วยสาเหตุนี้เอง ที่มักจะทำให้พวกเขาต้องถึงทางตันในการทำธุรกิจ ดังนั้น ทางออกแบบไหนกันที่จะทำให้องค์กรที่ไม่กล้าเสี่ยงแบบนี้เติบโตได้? รู้จัก Breaking Orthodoxies (การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ) การทำลายความเชื่อดั้งเดิมในธุรกิจ การท้าทายและตั้งคำถามถึงวิธีการทำสิ่งต่างๆ แบบเดิมๆ ออร์ทอดอกซ์เป็นข้อสันนิษฐาน หรือความเชื่อที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นจริงในอุตสาหกรรม ตลาด

รู้จัก ‘Penguin Effect’ จากคนธรรมดาพัฒนาเป็นเพนกวินผู้กล้า!

Highlight: ที่มาที่ไปของ Penguin Effectเพนกวินเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพฤติกรรมน่าสนใจ และทำให้เราขมวดคิ้วอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ‘Penguin Effect’ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ! นกเพนกวินแม้ในขณะที่หิวโหยยังสามารถยืนท้าลมหนาวเป็นเวลานานบนชายฝั่ง หรือแผ่นน้ำแข็งร่วมกับฝูง พร้อมทั้งคอยพยายามผลักและดันตัวที่อยู่ข้างหน้าลงไปในน้ำ ซึ่งสาเหตุมาจากที่พวกมันไม่กล้ารีบเข้าไปเอง เพราะกลัวนักล่าอย่าง แมวน้ำ, สิงโตทะเล ,วาฬเพชฌฆาต หรือ แม้แต่ฉลาม